โครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


ที่นี่ เคยขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีมากกว่า 700 ชนิด ทั้งปลา กุ้ง ปู ฯลฯ ล้วนมีราคาทางเศรษฐกิจ หล่อเลี้ยงลูกทะเลกว่า 150 ชุมชน
เดี๋ยวนี้หากซื้อตรงจากชาวประมงราคากิโลกรัมละ 350 บาท (จำนวน 3-4 ตัว) หรือหากซื้อผ่านแม่ค้าราคาก็จะขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 500 บาททีเดียว น่ากลัวเกินกว่าจะคิดต่อว่าจะเป็นอย่างไร หากสภาพของทะเลสาบเปลี่ยนแปลง สัตว์เศรษฐกิจหมดทะเล เพราะคงไม่เพียง ชาวประมงรุ่นปัจจุบันที่ลำบาก ลูกหลานก็อาจหมดอาชีพไปด้วย คือจุดพลิกให้อนันต์ มานิลประธานกลุ่มประมงพื้นบ้าน ป. ทรัพย์อนันต์ กับเพื่อนพ้องหันหน้าหารือเรื่องเพิ่มจำนวนปูทะเล

กลุ่มประมงพื้นบ้าน ป. ทรัพย์อนันต์ เกิดขึ้นโดยการรวมตัว ของชาวประมงราว 200 คน ที่ใช้เครื่องมืออวนจม และลอบดักปูหากิน ในน่านน้ำทะเลสาบสงขลา เขตอำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระและอำเภอระโนด แรกเริ่มที่นี่ใช้ระบบจัดการเดียวกับธนาคารปูทั่วไป คือ ชักชวนให้สมาชิกนำปูที่มีไข่นอกกระดอง (บริเวณหน้าท้อง) มาให้ยี (เขี่ยไข่) แทนการรับเลี้ยงแม่ปูจนไข่ฟักออกเป็นตัวอ่อน เพื่อร่นเวลาคืนแม่ปูแก่เจ้าของ ก่อนจะหันมาใช้วิธีอบรมการยีไข่แก่สมาชิก เพื่อให้เจ้าของปูทำเอง แล้วเพียงนำไข่ที่ยีเสร็จมาบริจาคให้ทางกลุ่มขยายพันธุ์ต่อจนกว่าจะถึงระยะลูกปูวัยอ่อนที่พร้อมคืนสู่ทะเล คล้ายฝากสินทรัพย์ไว้กับธรรมชาติ ให้มีชีวิตเติบโตต่อ เพื่อย้อนเป็นดอกเบี้ยไม่รู้จบแก่ชาวประมงในอนาคต



ในโรงเพาะฟักนั้นเพียงหนึ่งคืนก็ได้ลูกปูมหาศาล เนื่องจากแต่ละวัน ชาวประมงจับได้แม่ปู 10-50 ตัว คละสายพันธุ์อย่างปูม้า ปูเสือ ปูดาว มีบ้างที่จับได้ปูดำซึ่งเป็นปูน้ำกร่อยเพียงแม่ปูหนึ่งตัว หากมีน้ำหนัก 1-2 ขีด จะผลิตไข่ได้ 700,000-1,000,000 ฟอง หากแม่ปูมีสุขภาพดีจะยิ่งผลิตไข่ที่แข็งแรง ไข่จะแยกเป็นเม็ดเดี่ยว และมีอัตราการฟักเป็นตัวอ่อนสูง เฉลี่ย 600,000 ตัว หรือหากแม่ปูมีน้ำหนัก 2-3 ขีด จะผลิตไข่ได้ราว 1,800,000 ฟอง และมีอัตราการฟักเป็นตัวอ่อนสูง เฉลี่ย 1,000,000 ตัว ผลของการเรียนลัด-ย่อยวิชาการ กลายเป็นองค์ความรู้ประยุกต์ที่ชาวบ้านนำไปใช้ได้จริง


แม้จะได้งบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาหนุนเสริมกิจกรรมแต่โดยหลักศูนย์การเรียนรู้โดยชาวบ้านแห่งนี้ยังต้องเน้นการพึ่งตนเองการขับเคลื่อนศูนย์ฯ จำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ดูแลสมาชิกในกลุ่ม ลูกจ้างประมง และเจ้าหน้าที่ประจำครอบครัวมานิลจึงเปิดร้านอาหารขึ้นมาเสริมรายได้อีกทาง

"ถ้าให้เฉย ๆ เขาจะไม่รู้ค่าของปู เราจะขอคุยทำความเข้าใจกับทุกคนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมปล่อยปูก่อน อย่าลืมว่าเราไม่ใช่ธนาคารปูทั่วไปอย่างเมื่อก่อนที่รวมกลุ่มสมาชิกเพื่อนำแม่ปูมาฝากในกระชังหรือถังฟักแล้วปล่อยให้มันฟักเป็นตัวเองตามวงจรธรรมชาติ เห็นลูกปูอีกทีก็ตัวโตเท่าแม่โป้ง แต่วันนี้เราทำในลักษณะของโรงเพาะฟัก เพื่อเรียนรู้พัฒนาการของลูกปูแล้วนำความรู้นั้นมาเผยแพร่ เดือนหนึ่ง ๆ มีหน่วยงานต่าง ๆ ในภาคใต้ทั้งจังหวัดเดียวกันไปจนถึงปัตตานีมาขอลูกปูไปปล่อยราว 10-20 ครั้ง เราก็ให้ฟรีจำนวนครั้งละไม่ต่ำกว่า 5 แสนตัว เพียงแต่ก่อนให้ก็อยากสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจด้านการอนุรักษ์อย่างจริงจังแก่คนที่จะนำไปปล่อย เพราะลูกปูทุกชีวิตมีความสำคัญทั้งนั้น”
ความหมายในถ้อยความที่ชำนาญ มานิล กล่าวมานั้น มีมากกว่าการหวงแหนทรัพยากร เพราะการสละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น ช่วยรักษาความยั่งยืนให้อนาคตปูทะเลได้
ขณะที่ ปตท.สผ. ก็เชื่อมั่นในความเอาจริงของชุมชน และยังวางแผนระยะยาวว่าอีกสัก 5 ปี ที่นี่จะแข็งแรงพอเป็นศูนย์ต้นแบบเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังเครือข่ายธนาคารปูขนาดเล็กแห่งอื่น ๆ ที่มีศักยภาพพอจะขยายเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วย
ปัจจุบัน โครงการฯ ได้ร่วมมือกับภาครัฐและสถาบันวิชาการ ได้แก่ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการรักษาทรัพยากรทางทะเลให้สมบูรณ์ต่อเนื่องถึงอนาคต สร้างคุณค่าให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ โครงการยังได้รับรางวัลในระดับโลกจากเวทีต่าง ๆ แล้ว 14 รางวัล
ปี 2565 ปตท.สผ. ได้ขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยก่อตั้งศูนย์ฯ รวมจำนวน 10 แห่ง ใน 8 จังหวัดรอบอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และระยอง ทั้งนี้ ในปี 2568 ปตท.สผ. มีแผนก่อตั้งศูนย์ฯ รวมจำนวน 19 แห่ง ครอบคลุม 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย
นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ก่อตั้งศูนย์ฯ มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 3,563 คน พร้อมทั้งสร้างแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลและบ้านปลา จำนวน 25 แห่ง เกิดแนวเขตอนุรักษ์พื้นที่ 12.8 ตารางกิโลเมตร และยังเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเพาะฟักลูกปูและสัตว์น้ำเศรษฐกิจให้แก่ผู้สนใจ โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ จำนวน 19,636 คน รายได้เฉลี่ยของชุมชนชาวประมงเพิ่มเป็น 80,768 บาท หรือ 2,485 ดอลลาร์ สรอ. ต่อครัวเรือนต่อปี และโครงการยังได้มีการปล่อยลูกปูกลับสู่ธรรมชาติ 6,525 ล้านตัว
ปตท.สผ. ได้ทำการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ โดยนำผลลัพธ์ทางสังคมมาคำนวณเปรียบเทียบกับมูลค่าทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินโครงการโดยผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ (SROI) มีค่าเท่ากับ 4.13 : 1