ระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง

ระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง พ.ศ. 2556 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2)
2. คำนิยาม
3. ขอบเขตของเรื่องร้องเรียน
4. บุคคลที่สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียน
5. บุคคลที่เกี่ยวข้องและหน้าที่
6. การให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
7. ช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียน
8. การดำเนินการของ ปตท.สผ.
10. การเยียวยา
11. การบังคับใช้ของระเบียบ
12. บทลงโทษ
13. การรักษาการตามระเบียบ
14. วันที่ใช้บังคับ
15. ภาคผนวก

1.2 เพื่อให้กรรมการ พนักงาน และบุคคลใด ๆ ที่กระทำการแทนกลุ่ม ปตท.สผ. ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ โดยสอดคล้องกับกฎหมาย การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจ รวมทั้งระเบียบต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท.สผ.
1.3 เพื่อให้ทุกคนแจ้งอย่างสุจริตถึงการปฏิบัติที่ขัด หรือสงสัยว่าจะขัดต่อเรื่องดังกล่าวให้บริษัททราบ ผ่านช่องทางการแจ้งต่าง ๆ ที่กลุ่ม ปตท.สผ. จัดเตรียมให้
1.4 เพื่อให้ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนและบุคคลใดที่ให้ความร่วมมือกับบริษัทด้วยความสุจริตใจ ได้รับความคุ้มครอง รวมถึงได้รับการป้องกันจากการถูกกลั่นแกล้งอันเนื่องมาจากการร้องเรียน
อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
“บริษัท” หมายความว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.
“บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัท ซึ่ง ปตท.สผ. ถือหุ้นโดยตรง และ/หรือ โดยอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
“กลุ่ม ปตท.สผ.” หมายความว่า ปตท.สผ. และบริษัทย่อย ของ ปตท.สผ.
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการ ปตท.สผ.
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการ ปตท.สผ.
“พนักงาน” หมายความว่า ผู้บริหาร พนักงาน พนักงานสัญญาจ้าง ที่ปรึกษา ผู้ปฏิบัติงานสมทบ และลูกจ้างของกลุ่ม ปตท.สผ.
“ผู้บังคับบัญชา” หมายความว่า พนักงานระดับบริหาร หรือพนักงานระดับผู้จัดการ ที่พนักงานไว้วางใจที่จะแจ้งเรื่องร้องเรียนตามระเบียบนี้
“ระเบียบ” หมายความว่า ระเบียบ ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีผลบังคับกับการปฏิบัติ (Compulsory) ของกลุ่ม ปตท.สผ.
“การประพฤติผิด” หมายความว่า การกระทำที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของกลุ่ม ปตท.สผ. รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
2.1 | “การทุจริต” หมายความว่า การกระทำใด ๆ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งรวมถึงการกระทำ ดังนี้ | |
2.1.1 | การยักยอกทรัพย์ หมายความว่า การครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม | |
2.1.2 | การคอร์รัปชัน หมายความว่า การเรียก รับ หรือยอมจะรับ ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชน หน่วยงานของเอกชน เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานเหล่านั้นใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ กระทำการ ไม่กระทำการ เร่งรัด หรือประวิงการกระทำใดอันมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย จารีต และขนบธรรมเนียมกำหนดให้กระทำได้ | |
2.1.3 | การฉ้อโกงหรือการตกแต่งงบการเงิน หมายความว่า การหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์จากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิใด ๆ | |
2.2 | การกระทำที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของกลุ่ม ปตท.สผ. อื่น ๆ นอกเหนือการประพฤติผิด ตามข้อ 2.1 |
“เรื่องร้องเรียน” หมายความว่า เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติผิดตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
กรรมการ พนักงาน หรือบุคคลใด ๆ ที่กระทำการแทนกลุ่ม ปตท.สผ. อาจถูกร้องเรียนตามระเบียบนี้หากมีการประพฤติผิด ตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2
ทั้งนี้ บริษัทส่งเสริมให้ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเปิดเผยตัวตน และ/หรือ ให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอเกี่ยวกับการประพฤติผิด ตามข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2 ตัวอย่างเช่น
• ชื่อ-นามสกุล ข้อมูลการติดต่อของผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน
• ชื่อ-นามสกุล ของผู้ถูกร้องเรียน
• ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่อยู่ในขอบเขตเรื่องร้องเรียน
• เอกสารหลักฐานประกอบเรื่องร้องเรียน
ในกรณีที่ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนไม่เปิดเผยตัวตนให้ทราบ ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนเมื่อรับเรื่องร้องเรียนจะพิจารณาถึงข้อมูลประกอบเรื่องร้องเรียนว่า มีข้อมูลที่ระบุรายละเอียดข้อเท็จจริง หรือหลักฐานที่ปรากฏชัดแจ้งเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำผิดหรือการทุจริต หรือมีเหตุอันควรเชื่อโดยสุจริตว่ามีการกระทำผิดหรือการทุจริตจริง โดยจะไม่รับเรื่องร้องเรียนหากเป็นไปตามกรณี ดังนี้
1.1 เรื่องที่ไม่ระบุพยาน หลักฐาน หรือพฤติการณ์การกระทำการทุจริตหรือประพฤติผิดที่ชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงได้
1.2 เรื่องที่สายงานทรัพยากรบุคคล ตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคล เรื่องวินัย การลงโทษ และการร้องทุกข์ของบริษัท หรือเรื่องที่สายงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นของกลุ่ม ปตท.สผ. ที่มีอำนาจ ได้รับไว้พิจารณา หรือได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดอย่างเป็นธรรมแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญเพิ่มเติม
1.3 เรื่องที่เป็นนโยบายของกลุ่ม ปตท.สผ. ที่คณะกรรมการบริษัทหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้พิจารณาเห็นชอบและมีมติเด็ดขาดแล้ว
ทั้งนี้ กรณีที่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอว่าผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนมีพฤติการณ์ชัดแจ้งว่าแจ้งหรือกล่าวหาผู้ถูกร้องเรียนโดยไม่สุจริต บริษัทจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อปกป้องชื่อเสียงของผู้ถูกร้องเรียน ดังนี้
1.1 ในกรณีที่ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเป็นพนักงาน ให้ดำเนินการสอบสวน เพื่อพิจารณาลงโทษตามระเบียบบริษัทว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคล
1.2 ในกรณีที่ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเป็นบุคคลภายนอก และกลุ่ม ปตท.สผ. ได้รับความเสียหาย บริษัทอาจพิจารณาดำเนินคดีกับผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนด้วย
5.1 | ผู้รับเรื่องร้องเรียน (Report Receiver) ได้แก่ กรรมการ หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน โดยกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว มีหน้าที่ต้องส่งเรื่องร้องเรียนที่ได้รับให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนเพื่อดำเนินการต่อไปด้วย |
|
5.2 | ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน (Case Coordinator) ได้แก่ หน่วยงานบรรษัทภิบาล สายงานเลขานุการบริษัท หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจ ตามข้อ 5.10 มีหน้าที่รวบรวม พิจารณาความชัดแจ้งเพียงพอของพยานหลักฐานในเบื้องต้น และส่งเรื่องร้องเรียนที่ผ่านการพิจารณาให้ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน รวมถึงจัดเก็บข้อมูล บันทึกความคืบหน้าและผลสรุป ติดตามและปรับเปลี่ยนสถานะของเรื่องร้องเรียน และกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่กำกับดูแลให้การดำเนินการเรื่องร้องเรียนแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดตามระเบียบนี้ด้วย |
|
5.3 | ผู้ถูกร้องเรียน (Subject of a Report) ได้แก่ กรรมการ พนักงาน หรือบุคคลใด ๆ ที่กระทำการแทนของกลุ่ม ปตท.สผ. ที่ถูกร้องเรียนหรือกล่าวหาโดยผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน ว่ามีการประพฤติผิดตามระเบียบข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2 ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนพบว่า มีบุคคลอื่นเป็นผู้ร่วมกระทำการ สนับสนุนการกระทำ จ้างวาน หรือสั่งการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนด้วย ให้ถือว่าบุคคลอื่นนั้นเป็นผู้ถูกร้องเรียนด้วย |
|
5.4 | ผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน (Investigation Participant) ได้แก่ กรรมการ พนักงาน หรือบุคคลภายนอกที่ได้รับการขอความร่วมมือจากผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน หรือผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของกลุ่ม ปตท.สผ. ในการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรืออาจเกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน |
|
5.5 | ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของ ปตท.สผ. ตามระเบียบนี้ กำหนดให้การตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติผิดตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ดำเนินการโดยหน่วยงาน ดังนี้ |
|
5.5.1 | สายงานตรวจสอบเป็นหน่วยงานกลางในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติผิดตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 | |
5.5.2 | สายงานทรัพยากรบุคคลเป็นผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการประพฤติผิดตามระเบียบบริษัทว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคล | |
5.5.3 | ในกรณีที่เรื่องร้องเรียน ตามข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน ให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8.1.2 | |
ทั้งนี้ ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจะต้องไม่มีส่วนได้เสียกับเรื่องร้องเรียน |
||
5.6 | ในกรณีที่ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนเป็นผู้ถูกร้องเรียน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะเป็นผู้พิจารณารับเรื่องร้องเรียนและเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อทำหน้าที่ตามความเหมาะสม |
|
5.7 | ในกรณีที่หัวหน้าสายงานตรวจสอบของ ปตท.สผ. เป็นผู้ถูกร้องเรียน คณะกรรมการตรวจสอบของ ปตท.สผ. จะเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Investigation Committee) เพื่อทำหน้าที่ตามความเหมาะสม |
|
5.8 | ในกรณีที่พนักงานระดับบริหารในระดับหัวหน้าสายงาน (Division) ระดับหัวหน้ากลุ่มงาน (Function Group) ของ ปตท.สผ. เป็นผู้ถูกร้องเรียน ให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือประธานกรรมการของ ปตท.สผ. เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อทำหน้าที่ตามความเหมาะสม และรายงานให้คณะกรรมการบริษัททราบ ในกรณีที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือกรรมการของ ปตท.สผ. เป็นผู้ถูกร้องเรียน คณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อทำหน้าที่ตามความเหมาะสม |
|
5.9 | ผู้มีอำนาจตัดสินผลสรุปเรื่องร้องเรียนและสั่งลงโทษของ ปตท.สผ. ให้เป็นไปตามคู่มือการมอบอำนาจ (Delegation of Authority and Signatures - DAS) ในกรณีการตัดสินผลสรุปเรื่องร้องเรียนและสั่งลงโทษหัวหน้าสายงานตรวจสอบให้นำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบของ ปตท.สผ. พิจารณาอนุมัติ ในกรณีการตัดสินผลสรุปเรื่องร้องเรียนและสั่งลงโทษพนักงานระดับบริหารในระดับหัวหน้าสายงานและระดับหัวหน้ากลุ่มงาน ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ |
|
5.10 | การแต่งตั้งผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนและผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อย ให้รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.สผ. (Function Group) ที่เป็นผู้บริหารสูงสุดในการควบคุมและดูแลการบริหารงานของบริษัทย่อย รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว หรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทย่อย หรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโครงการในพื้นที่ต่างประเทศ เป็นผู้พิจารณาแต่งตั้ง โดยให้พิจารณาการมีส่วนได้เสีย และการตรวจสอบถ่วงดุลประกอบด้วย ทั้งนี้ กรณีผู้บริหารสูงสุดของบริษัทย่อย หรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโครงการในพื้นที่ต่างประเทศ แต่งตั้งผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนและผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อยแล้ว ให้รายงานต่อรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.สผ. ตามวรรคหนึ่ง และหน่วยงานบรรษัทภิบาลของ ปตท.สผ. ทราบด้วย |
|
5.11 | ผู้มีอำนาจตัดสินผลสรุปเรื่องร้องเรียนและสั่งลงโทษของบริษัทย่อยให้เป็นไปตามคู่มือการมอบอำนาจที่มีกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หรือคู่มือการมอบอำนาจของ ปตท.สผ. ตามความเหมาะสม |
บุคคลใด ๆ ที่ได้รับทราบเรื่องร้องเรียน หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนตามระเบียบนี้ จะต้องปกป้องข้อมูลเรื่องร้องเรียน หรือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน ให้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้แจ้งร้องเรียน แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็นในขั้นตอนการดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือตามที่กฎหมายกำหนด หากมีการจงใจฝ่าฝืนนำข้อมูลออกไปเปิดเผยกลุ่ม ปตท.สผ. จะดำเนินการลงโทษทางวินัย และ/หรือ ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืน แล้วแต่กรณี
7.1 จดหมาย ส่งถึง กรรมการ หรือ ผู้บังคับบัญชา หรือ หน่วยงานบรรษัทภิบาล สายงานเลขานุการบริษัท
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร เอ ชั้น 33
ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
7.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ถึง ผู้บังคับบัญชา หรือ หน่วยงานบรรษัทภิบาล สายงานเลขานุการบริษัท cghotline@pttep.com
7.3 ระบบการรับเรื่องร้องเรียนของกลุ่ม ปตท.สผ. (Whistleblowing System) ในเว็บไซต์ www.pttep.com
8.1 | การตรวจสอบเรื่องร้องเรียน |
||
8.1.1 | เรื่องที่ไม่ซับซ้อน ได้แก่ เรื่องร้องเรียนที่มีหลักฐานชัดเจน และ/หรือ ไม่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนจะส่งเรื่องให้ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ตามข้อ 5.5 ดำเนินการ ดังนี้ | ||
(1) | เรื่องร้องเรียนการประพฤติผิด ตามข้อ 2.1 และ 2.2 ส่งให้สายงานตรวจสอบของ ปตท.สผ. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยอาจหารือกับสายงานทรัพยากรบุคคล หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนนั้น ๆ | ||
(2) | เรื่องร้องเรียนการประพฤติผิดตามระเบียบบริษัทว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคล ส่งให้สายงานทรัพยากรบุคคลดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง | ||
8.1.2 | เรื่องที่ซับซ้อน ได้แก่ เรื่องร้องเรียนที่เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงตามระเบียบบริษัทว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคล เรื่องร้องเรียนที่มีหลักฐานชัดเจนจำนวนมาก หรือยุ่งยาก หรือเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ให้สายงานตรวจสอบของ ปตท.สผ. หรือสายงานทรัพยากรบุคคลของ ปตท.สผ. แล้วแต่กรณี นำเสนอประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ปตท.สผ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วย บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน่วยงานละ 1 คน ได้แก่ สายงานตรวจสอบของ ปตท.สผ. สายงานกฎหมายของ ปตท.สผ. และ สายงานทรัพยากรบุคคลของ ปตท.สผ. ทั้งนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ปตท.สผ. จะแต่งตั้งพนักงานหรือบุคคลภายนอกอื่นร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยก็ได้ และกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทุกคนจะต้องไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องร้องเรียนนั้น ๆ |
||
8.1.3 | การตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนเป็นผู้ถูกร้องเรียน ให้ผู้มีอำนาจตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ตามข้อ 5.6 ดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน | ||
8.1.4 | การตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่หัวหน้าสายงานตรวจสอบของ ปตท.สผ. หรือพนักงานระดับบริหารในระดับหัวหน้าสายงาน หรือพนักงานระดับบริหารในระดับหัวหน้ากลุ่มงาน หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้ถูกร้องเรียน ให้ผู้มีอำนาจตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ตามข้อ 5.7 และข้อ 5.8 ดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน |
||
8.2 | ระยะเวลาการดำเนินการ |
||
8.2.1 | ผู้รับเรื่องร้องเรียน ต้องส่งเรื่องร้องเรียนให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน | ||
8.2.2 | ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน ต้องส่งเรื่องร้องเรียนให้ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้รับเรื่องร้องเรียน หรือจากผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน (แล้วแต่กรณี) | ||
8.2.3 | ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ นับแต่พิจารณารับเป็นเรื่องร้องเรียนในทุกกรณี ยกเว้น กรณีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือกรรมการบริษัท เป็นผู้ถูกร้องเรียน ให้นำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยไม่ล่าช้า | ||
8.2.4 | ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ตามข้อ 5.5.1 หรือข้อ 5.5.2 ต้องพิจารณาและรายงานผลสรุปเรื่องร้องเรียนซึ่งยุติแล้ว และผลสั่งลงโทษของผู้มีอำนาจ ตามข้อ 5.9 (ถ้ามี) ให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนทราบ ภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน ทั้งนี้ ในกรณีที่สายงานตรวจสอบของ ปตท.สผ. เป็นผู้เสนอสั่งลงโทษจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สายงานทรัพยากรบุคคลเกี่ยวกับมาตรฐานการลงโทษด้วย |
||
8.2.5 | คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามข้อ 5.5.3 ข้อ 5.6 ข้อ 5.7 และข้อ 5.8 ต้องพิจารณาและรายงานผลสรุปเรื่องร้องเรียนซึ่งยุติแล้ว และผลสั่งลงโทษของผู้มีอำนาจ ตามข้อ 5.9 (ถ้ามี) ให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนทราบ ภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้รับทราบคำสั่งอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง | ||
8.2.6 | กรณีมีความจำเป็นที่ไม่สามารถจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลา ตามข้อ 8.2.2 ให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนนำเสนอประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ปตท.สผ. เพื่อพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาการตรวจสอบได้ครั้งละไม่เกิน 7 วันทำการ | ||
8.2.7 | กรณีมีความจำเป็นที่ไม่สามารถจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลา ตามข้อ 8.2.4 ให้ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนนำเสนอประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ปตท.สผ. เพื่อพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาการตรวจสอบได้ครั้งละไม่เกิน 7 วันทำการ | ||
8.2.8 | กรณีมีความจำเป็นที่ไม่สามารถจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลา ตามข้อ 8.2.5 ให้ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนนำเสนอประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ปตท.สผ. หรือคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการบริษัท (แล้วแต่กรณี) เพื่อพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาการตรวจสอบได้ครั้งละไม่เกิน 30 วันทำการ | ||
8.2.9 | หากไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา หรือไม่ขอขยายระยะเวลาที่กำหนดไว้ข้างต้น ให้ถือว่าผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน หรือผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ และต้องดำเนินการทำหนังสือชี้แจงต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน (แล้วแต่กรณี) ถึงเหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการได้ |
||
8.3 | การรายงาน |
||
8.3.1 | ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนมีหน้าที่รายงานผลสรุปเรื่องร้องเรียนให้แก่ ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน ผู้รับเรื่องร้องเรียน ผู้ถูกร้องเรียน ผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน หรือบุคคลอื่น ตามความจำเป็นและเหมาะสม รวมถึงการรายงานข้อมูลให้กับหน่วยงานราชการตามที่กฎหมายกำหนด | ||
8.3.2 | สายงานตรวจสอบของ ปตท.สผ. หรือสายงานทรัพยากรบุคคลของ ปตท.สผ. หรือคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามข้อ 5.5.3 หรือข้อ 5.6 (แล้วแต่กรณี) มีหน้าที่รายงานผลสรุปเรื่องร้องเรียนและคำสั่งลงโทษของผู้มีอำนาจ ตามข้อ 5.9 (ถ้ามี) ต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รวมถึงต่อคณะกรรมการตรวจสอบของ ปตท.สผ. (กรณีเรื่องร้องเรียนการประพฤติผิดกรณีทุจริต ตามข้อ 2.1) หรือคณะกรรมการบรรษัทภิบาลของ ปตท.สผ. (กรณีเรื่องร้องเรียนการประพฤติผิด ตามข้อ 2.2) ด้วย | ||
8.3.3 | คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามข้อ 5.6 ข้อ 5.7 และข้อ 5.8 (แล้วแต่กรณี) ต้องรายงานผลสรุปเรื่องร้องเรียนและคำสั่งลงโทษของผู้มีอำนาจ ตามข้อ 5.9 (ถ้ามี) ต่อคณะกรรมการบริษัทด้วย | ||
8.3.4 | กรณีที่ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน และ/หรือ ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนตรวจสอบหลักฐานในเบื้องต้นและพบว่า เรื่องร้องเรียนอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อชื่อเสียง การดำเนินธุรกิจ และ/หรือ ฐานะการเงินของกลุ่ม ปตท.สผ. ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนที่พบ หรือที่ได้รับแจ้งจากผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ต้องรายงานเรื่องดังกล่าวต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ปตท.สผ. ให้ทราบทันที เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ระดับความเสียหายที่ถือว่ามีนัยสำคัญอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่ที่กลุ่ม ปตท.สผ. ดำเนินธุรกิจ |
9.1 | ช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อย ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนตาม ข้อ 7. อย่างไรก็ดี บริษัทย่อยอาจกำหนดช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม โดยต้องหารือร่วมกับหน่วยงานบรรษัทภิบาลของ ปตท.สผ. เรื่องร้องเรียนที่ได้รับในช่องทางอื่น ๆ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบฯ นี้ และนำเข้าระบบส่วนกลางเพื่อการรวบรวมและบันทึกให้ครบถ้วน |
|
9.2 | การตรวจสอบเรื่องร้องเรียน |
|
9.2.1 | ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน และผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.สผ. หรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทย่อย หรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโครงการในพื้นที่ต่างประเทศ ตามข้อ 5.10 ดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน แต่ในกรณีที่ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน และ/หรือ ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเป็นผู้ถูกร้องเรียนเอง ให้ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทย่อย หรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโครงการในต่างประเทศ มีอำนาจแต่งตั้งผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนและผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนใหม่ เพื่อดำเนินการแทนในกรณีดังกล่าว และให้รายงานต่อรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.สผ. ตามข้อ 5.10 และหน่วยงานบรรษัทภิบาลของปตท.สผ. | |
9.2.2 | กรณีที่ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทย่อย หรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโครงการในต่างประเทศเป็นผู้ถูกร้องเรียน ให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อยส่งเรื่องให้หน่วยงานบรรษัทภิบาลของ ปตท.สผ. ดำเนินการต่อในฐานะผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน | |
9.2.3 | กรณีที่เรื่องร้องเรียนเกี่ยวข้องกับการประพฤติผิดตามข้อ 2.1 ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อย ต้องรายงานเรื่องดังกล่าวมาที่ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของ ปตท.สผ. เพื่อให้หน่วยงานตรวจสอบของ ปตท.สผ. พิจารณาส่งผู้ตรวจสอบของ ปตท.สผ. เข้าร่วมเป็นคณะผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน หรือติดตามการดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนได้อย่างเหมาะสม |
|
9.3 | ระยะเวลาการดำเนินการ |
|
9.3.1 | ระยะเวลาการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ 8.2 ของระเบียบนี้ | |
9.3.2 | การขอขยายระยะเวลาการดำเนินการให้ขออนุมัติจากผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนหรือผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน แล้วแต่กรณี |
|
9.4 | การรายงาน |
|
9.4.1 | ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อย มีหน้าที่รายงานผลสรุปเรื่องร้องเรียนให้แก่ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน ผู้รับเรื่องร้องเรียน ผู้ถูกร้องเรียน ผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของ ปตท.สผ. หรือบุคคลอื่น ตามความจำเป็นและเหมาะสม | |
9.4.2 | ให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อย มีหน้าที่รายงานผลสรุปเรื่องร้องเรียนและคำสั่งลงโทษของผู้มีอำนาจ ตามข้อ 5.11 (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของ ปตท.สผ. เพื่อทราบและให้ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) รวมถึงผู้บริหารสูงสุดของบริษัทย่อย ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโครงการในพื้นที่ต่างประเทศ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.สผ. ตามข้อ 5.10 ซึ่งมีหน้าที่รายงานผลสรุปเรื่องร้องเรียนและคำสั่งลงโทษของผู้มีอำนาจ ตามข้อ 5.11 (ถ้ามี) ต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และต่อคณะกรรมการตรวจสอบ (กรณีเรื่องร้องเรียนการประพฤติผิดกรณีทุจริต ตามข้อ 2.1) หรือคณะกรรมการบรรษัทภิบาล (กรณีเรื่องร้องเรียนการประพฤติผิด ตามข้อ 2.2) ด้วย | |
9.4.3 | กรณีผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียน และ/หรือ ผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.สผ. หรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทย่อย หรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโครงการในพื้นที่ต่างประเทศ ตามข้อ 5.10 พิจารณาหลักฐานในเบื้องต้นและพบว่า เรื่องร้องเรียนอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อชื่อเสียงการดำเนินธุรกิจ และ/หรือ ฐานะการเงินของกลุ่ม ปตท.สผ. ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนที่พบหรือที่ได้รับแจ้งจากผู้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ต้องรายงานเรื่องดังกล่าวต่อรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.สผ.หรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทย่อย หรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโครงการในพื้นที่ต่างประเทศ ตามข้อ 5.10 หรือผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าวให้ทราบทันที เพื่อพิจารณาดำเนินการ และรายงานให้ผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของ ปตท.สผ. ทราบต่อไปด้วย |
13.2 ในการตีความระเบียบนี้ นอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้งแล้ว ในกรณีที่มีข้อสงสัยและต้องตีความให้ถือตามเจตนารมณ์ของระเบียบเป็นสำคัญ
ก. สรุปขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียน

ข. สรุปขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อย
