
EP Net Zero 2050
ปตท.สผ. ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 โดยวางแนวทางการดำเนินงานผ่านแนวคิด EP Net Zero 2050
ด้วยเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของ ปตท.สผ. ที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างความสมดุลที่เหมาะสมในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (Right Balance) และคุณค่าร่วมแก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน ปตท.สผ. จึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global warming) สอดคล้องกับทิศทางของโลกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง เป้าหมายของประเทศไทยที่ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ เกี่ยวกับการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero greenhouse gas emissions) ในปี 2608

ปตท.สผ. ได้วางแนวทางการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านแนวคิด EP Net Zero 2050 โดยตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 (Net Zero Greenhouse Gas Emissions by 2050) ครอบคลุม Scope 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง และ Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่ง ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ (Operational Control)
ในปี 2565 ปตท.สผ. บรรลุเป้าหมายเดิมในการลดความเข้ม (Intensity) ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 จากปีฐาน 2555
ปตท.สผ. จึงกำหนดเป้าหมายใหม่เพื่อลดความเข้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ภายในปี 2573 และร้อยละ 50 ภายในปี 2583 (จากปีฐาน 2563) มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593
แนวทางดำเนินการผ่านแนวคิด EP Net Zero 2050
Exploring for Lower Carbon E&P Portfolio
Production and Planet in Balance

การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
โครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) คือหนึ่งในแผนงานสำคัญของ ปตท.สผ. เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน สู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายของบริษัทในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมและของประเทศ
เพิ่มเติม