นักลงทุนสัมพันธ์
ถามตอบข้อสงสัย

คำถามทั่วๆ ไป
อย่างไรก็ตาม เงินปันผลจาก ปตท.สผ. ซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ยังสามารถได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี
1.2 นำรายละเอียดของใบหุ้นกู้ ไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ
1.3 กรอกแบบคำขอออกใบหุ้นกู้ใหม่ พร้อมแนบใบแจ้งความและสำเนาบัตรประชาชนของผู้ถือหุ้น
กรณีมาดำเนินการด้วยตนเอง สามารถรอรับได้ทันที หากไม่สะดวกมาด้วยตนเองให้ทำหนังสือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน
กรณีจัดส่งทางไปรษณีย์ เมื่อทางนายทะเบียนดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะจัดส่งคืนให้ตามที่อยู่ของลูกค้า
คำถามที่น่าสนใจในช่วงนี้
ปตท.สผ. ได้กำหนดกรอบแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหลักการในการดำเนินงานร่วมกันขององค์กร อันประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การมุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization - HPO) การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Governance, Risk Management and Compliance - GRC) และการสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Value Creation - SVC) ได้แก่
ด้านการมุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (HPO) เน้นการดำเนินงานตามกลยุทธ์หลัก EXECUTE และต่อยอดการ EXPAND ท่ามกลางความท้าทายที่หลากหลายซึ่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงธุรกิจปิโตรเลียมกำลังเผชิญอยู่ ปตท.สผ. ได้ทำการปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน
ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (GRC) มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนให้กับองค์กร โดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล การกำกับดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ด้านการสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- กลยุทธ์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Reduction) ปตท.สผ. มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Footprint) โดยได้ตั้งเป้าลดความเข้มของการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมดำเนินงานของบริษัทให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2555
- กลยุทธ์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดของเหลือทิ้ง (Circular Model for E&P) ได้ออกแบบกระบวนการทำงานและการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มการใช้ซ้ำและทำให้เกิดการนำทรัพยากรกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ใหม่ โดยได้ตั้งเป้าหมายในการนำโครงสร้างและอุปกรณ์หลักมาใช้ใหม่ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2573
- กลยุทธ์การอนุรักษ์และฟิ้นฟูระบบนิเวศทางทะเลเพื่อทุกชีวิต (Ocean for Life) โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มความสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรทางทะเล (Biodiversity) และรายได้ของประชากรที่พึ่งพาทรัพยากรทางทะเล (Improve Local Economy) จากปีฐาน 2563
ปตท.สผ. ได้ทบทวนและเตรียมพร้อมในการปรับแผนการลงทุน โดยคาดว่าจะสามารถลดรายจ่ายลงทุน ในปี 2563 ได้ประมาณ 15-20% โดยไม่กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต รวมถึงความต้องการใช้พลังงานของประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจาก
- เน้นการบริหารจัดการต้นทุนในโครงการผลิตปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- การเลื่อนแผนการเจาะสำรวจในบางโครงการออกไป
- ลดรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรักษากำลังการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจ
ทั้งนี้ ปตท.สผ. ยังคงพร้อมที่จะดำเนินงานตามแผนงาน ปี 2563 โดยเน้นที่กลยุทธ์ในการรักษาปริมาณการผลิตจากโครงการหลักและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะการTransition โครงการในประเทศ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และโครงการ G2/61 (แหล่งบงกช) และการติดตามและสนับสนุนความคืบหน้าของโครงการต่างประเทศที่เริ่มพัฒนาแล้วเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามแผนต่อไป
- เสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักของ ปตท.สผ. โดยพิจารณาปรับแผนพัฒนาและแผนการผลิตให้เหมาะสมด้วยต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยบริษัทได้กำหนดเป้าหมายในการลดต้นทุนต่อหน่วย (Unit Cost) อย่างต่อเนื่อง ให้อยู่ในระดับ Top quartile ของกลุ่มอุตสาหกรรม (ที่ระดับประมาณ 25 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ) ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 5 ภายในปี 2573 โดยการทบทวนแผนงานและพิจารณาปรับลดงบประมาณลงทุนสำหรับปี 2563 และปีถัด ๆ ไป โดยเน้นการเพิ่มมูลค่าของโครงการทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยการเลื่อนกิจกรรมที่ไม่จำเป็นออกไป การปรับแผนพัฒนาโครงการให้สอดคล้องตามการคาดการณ์ของอุปทานหลัง สถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนการศึกษาความเหมาะสมในการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุนในอนาคต
- ขยายพอร์ตการสำรวจและผลิต โดยการแสวงหาโอกาสการลงทุนในช่วงวิกฤตครั้งนี้ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Alliance) ที่มีประสบการณ์ในด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อรักษาอัตราส่วนปริมาณสำรองปิโตรเลียมต่อการผลิตที่ 7 ปี
- ขับเคลื่อนธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แบบครบวงจร โดยการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ LNG ของบริษัท และกำหนดเป้าหมายการลงทุนร่วมกันทั้งในต้นน้ำและในโรงงานผลิต (Upstream & Liquefaction) โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรควบคู่กันไปด้วย
- แสวงหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจไฟฟ้า การต่อยอดและขยายธุรกิจ I & Robotics Venture (ARV) ใน 4 ภาคส่วน ได้แก่ การตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ใต้ทะเล การเกษตร การแพทย์ และการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในการตรวจสอบทางเทคนิค โดยบริษัทมีเป้าหมายว่าภายในปี 2573 ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิรวมจะมาจากธุรกิจใหม่เหล่านี้
- ปรับเปลี่ยนการทำงานให้เข้ากับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ผ่านโครงการ Transformation และการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในใหม่ โดยโครงการ Transformation ประกอบไปด้วย การนำ Digital Transformation มาใช้ในการทำงานโดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาว การเปลี่ยนวิธีคิดขององค์กรให้มุ่งสู่ “One Team, One Goal” การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากร เป็นต้น
บริษัทคาดว่า ปริมาณการขายในปี 2563 จะต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ (เมื่อปลายปีที่แล้ว) ประมาณร้อยละ 9 จากความต้องการพลังงานโดยรวมที่ลดลง ประกอบกับการนำเข้า LNG เพื่อใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นจากการที่ราคา Spot LNG ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีปริมาณการขายของบริษัทกว่าร้อยละ 70 เป็นก๊าซธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่มีการกำหนดปริมาณรับซื้อขั้นต่ำไว้แล้วตามสัญญา
สถานะการเงินของบริษัทในปัจจุบันที่ยังมีความมั่นคง สามารถรักษาสภาพคล่องด้วยเงินสดจาการดำเนินงานที่ยังแข็งแกร่งจากราคาก๊าซที่ไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยยะในปีนี้ ปริมาณเงินสดคงเหลือที่มีอยู่ในระดับสูง โดยมีเงินสดคงเหลือกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่มีปริมาณเงินสดขั้นต่ำสำหรับการดำเนินงานอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับไม่มีภาระในการชำระเงินกู้ในระยะสั้น จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถรองรับความผันผวนของราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี
โครงการแปลงเอช ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลน้ำลึก นอกชายฝั่งรัฐ Sabah มีกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติที่ 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มาตรการควบคุมการเดินทางของประชาชนได้ส่งผลให้การเข้าพื้นที่เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ เกิดความล่าช้า อย่างไรก็ตามโครงการคาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ภายในไตรมาส 3 ปี 2563 ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการติดตั้ง Subsea structure
โครงการโมซัมบิก แอเรีย 1
ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา (Development Phase) โครงการอยู่ระหว่างการสรุปผลการคัดเลือกบริษัทเจ้าของเรือ (LNG Ship-owner) และเจรจาเงื่อนไขสัญญาเช่าเรือ (Time Charter Party Agreement) ซึ่งคาดว่าจะสรุปและพร้อมทำสัญญากับบริษัทเจ้าของเรือได้ตามแผน เพื่อดำเนินการขออนุมัติจากรัฐบาลโมซัมบิกต่อไป โครงการได้ลงนามสัญญาเงินกู้ในรูปแบบ Project Finance วงเงิน 14,900 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ สำหรับการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว 2 สายการผลิตแรก ทั้งนี้ ตามแผนงานโครงการจะดำเนินการผลิตปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567
โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ
ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา (Development Phase) โครงการได้บรรลุข้อตกลงเพื่อเริ่มพัฒนาโครงการระยะที่ 1 ตามแผนพัฒนาที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลในเดือนเมษายน 2561 และคาดว่าจะเริ่มผลิตในปี 2564 ด้วยกำลังการผลิตประมาณ 10,000-13,000 บาร์เรลต่อวัน พร้อมทั้งมีแผนระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตในปี 2568 เป็น 50,000-60,000 บาร์เรลต่อวัน
โครงการเวียดนาม บี และ 48/95 และโครงการเวียดนาม 52/97
ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาเชิงพาณิชย์เพื่อรองรับการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final Investment Decision หรือ FID) และคาดว่าจะเริ่มผลิตปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ได้ในปลายปี 2566 ด้วยกำลังการผลิตที่จะค่อย ๆ เพิ่มไปสู่ระดับ 490 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ปตท.สผ. ใช้หลักการบริหารแบบ Natural Hedge สำหรับรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ส่วนใหญ่อยู่ในสกุลเงิน USD และ USD-linked และค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อยู่ในสกุล USD ในส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้อยู่ในสกุลเงิน USD ปตท.สผ. ได้พิจารณาใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน อาทิ สัญญา Forward และ Swap เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน
อนึ่ง เดิม ปตท.สผ. มีความแตกต่างของสกุลเงินที่ใช้ในการยื่นภาษีกับสกุลเงินที่ใช้ในการบันทึกบัญชี ทำให้การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทมีผลกระทบต่อ ปตท.สผ. ในรูปของภาษีเงินได้ อย่างไรก็ตาม การประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 50) พ.ศ. 2562 และ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2562 ในเดือนเมษายน 2562 และกฎหมายลำดับรองในเดือนมิถุนายน 2563 ทำให้กลุ่มบริษัท ปตท.สผ. คาดว่าจะสามารถยื่นภาษีเงินได้ด้วยสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานได้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยบริษัทได้รับรู้ผลกระทบส่วนใหญ่จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในไตรมาส 2 ปี 2563 และจะไม่มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทในแง่ของภาษีเงินได้ ต่อผลประกอบการของบริษัทในอนาคต