ข่าวประชาสัมพันธ์
ปตท.สผ. จัดทำแพลตฟอร์มข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเล สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในทะเลอ่าวไทย
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือ PTTEP Ocean Data Platform เพื่อรวบรวมข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการใช้แท่นผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่งเป็นสถานีเก็บข้อมูล ด้านอุตุนิยมวิทยาและด้านสมุทรศาสตร์ เช่น อุณหภูมิอากาศ ทิศทางลม อุณหภูมิน้ำ และการไหลเวียนของกระแสน้ำ เป็นต้น โดย ปตท.สผ. ร่วมมือกับหลายภาคส่วน อาทิ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น ในการเก็บข้อมูลดังกล่าว
PTTEP Ocean Data Platform ยังแสดงผลการศึกษาปริมาณไมโครพลาสติกในทะเล การตรวจติดตามและระบุชนิดสัตว์ทะเลใต้ขาแท่นผลิตปิโตรเลียมเพื่ออนุรักษ์ความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้ง ข้อมูลโครงการเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนรอบชายฝั่ง ที่ ปตท.สผ. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลของประเทศไทย การจัดทำแผนอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการต่อยอดแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนที่ของขยะทะเล การเคลื่อนที่ของน้ำทะเลอันมีผลต่อการฟอกขาวและการฟื้นตัวของปะการัง ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เป็นต้น
การพัฒนา PTTEP Ocean Data Platform สอดคล้องกับการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 14 ขององค์การสหประชาชาติ: Life Below Water ซึ่งให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถเยี่ยมชมหรือค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์จาก PTTEP Ocean Data Platform ได้ที่ oceandata.pttep.com
หากสื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อแผนกบริหารงานสื่อมวลชน
The information, statements, forecasts and projections contained herein reflect the Company’s current views with respect to future events and financial performance. These views are based on assumptions subject to various risks. No assurance is given that these future events will occur, or that the Company’s future assumptions are correct. Actual results may differ materially from those projected.