Highlights

Top Story

ปตท.สผ. ร่วมงาน OTC Asia 2024 นำเสนอวิสัยทัศน์ และเทคโนโลยีล้ำสมัยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

ปตท.สผ. เข้าร่วมงาน Offshore Technology Conference Asia หรือ OTC Asia 2024 ซึ่งเป็นเวทีที่ผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมพลังงานกว่า 25,000 คน พบปะและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานนอกชายฝั่ง รวมทั้ง การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดย OTC Asia ในปีนี้ จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ภายใต้แนวคิด “Excellence in Asia: Energising Now and for the Future”


ภายในงาน คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “Leadership Dialogue: Excellence in Asia: Energising Now and for the Future” นอกจากนี้ คณะผู้บริหาร ปตท.สผ. ยังได้ร่วมการเสวนาในอีกหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การดำเนินงานเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงมีการนำเสนอบทความทางวิชาการต่าง ๆ จากพนักงาน ปตท.สผ. อีกด้วย

 

งาน OTC Asia 2024 ครั้งนี้ ปตท.สผ. ได้รับรางวัล “Spotlight on New Technology Award” จากโซลูชันด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์สำหรับการปฏิบัติงานนอกชายฝั่งในรูปแบบดิจิทัล (AI and Robotics Solutions for Offshore Digitalization) โดยเป็นการพัฒนาร่วมกับ ARV ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เพื่อช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานนอกชายฝั่งในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งด้านความปลอดภัย และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน


ภายในงาน ปตท.สผ. ยังได้จัดแสดงบูธนิทรรศการภายใต้แนวคิด Journey to the Endless Possibilities เพื่อสะท้อนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายในการดำเนินธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน สำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ ปตท.สผ. นำมาจัดแสดง ได้แก่ แบบจำลองโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage) หรือ CCS ที่ ปตท.สผ. อยู่ในระหว่างการศึกษาและพัฒนาที่แหล่งลัง เลอบาห์ นอกชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปริมาณก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ ปตท.สผ. เคยค้นพบ, Xplorer ยานสำรวจใต้น้ำอัตโนมัติสำหรับตรวจสอบท่อปิโตรเลียมใต้ทะเล ซึ่งรายงานข้อมูลภาพจริงแบบเรียลไทม์ และ Smart Forest Solution and Carbon Credit Marketplace เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว และการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต


 

International Petroleum Technology Conference: IPTC 2024


ปตท.สผ. เข้าร่วมงานประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ (International Petroleum Technology Conference: IPTC 2024) ซึ่งเป็นหนึ่งในงานประชุมด้านพลังงานที่มีความสำคัญมากที่สุดในภูมิภาคตะวันออก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม งาน IPTC ในปีนี้ จัดขึ้น ณ Dharhan Expo เมืองดัมมาม ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 12–14 กุมภาพันธ์ 2567 ภายใต้แนวคิด “inventing solutions > leading the transition” ภายในงาน คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. ได้แสดงวิสัยทัศน์ร่วมกับผู้บริหารจากบริษัทด้านพลังงานชั้นนำต่าง ๆ ในหัวข้อ “Managing Uncertainties for a Prosperous Future” นอกจากนี้ พนักงาน ปตท.สผ. ยังได้นำเสนอบทความทางวิชาการต่าง ๆ ภายในงานอีกด้วย

ภายในงาน ปตท.สผ. ยังได้รับเกียรติจากคุณธิดา สุขีลาภ อัครราชทูต ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เข้าเยี่ยมชมบูธนิทรรศการ ซึ่งจัดแสดงเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้แก่ เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) บริเวณพื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่ม ปตท. ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย ซึ่ง ปตท.สผ. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, เอ็กซ์พลอเรอร์ (Xplorer) ยานสำรวจใต้น้ำอัตโนมัติสำหรับตรวจสอบท่อปิโตรเลียมใต้ทะเล ซึ่งรายงานข้อมูลภาพจริงแบบเรียลไทม์ รวมทั้ง Smart Forest Solution and Carbon Credit Marketplace เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังได้นำเสนอวัฒนธรรมและความเป็นไทยผ่านการแสดงโขน ในบริเวณบูธนิทรรศการอีกด้วย














ปตท.สผ. ร่วมการประชุมระดับโลก COP28 เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน  

ปตท.สผ. เข้าร่วมการประชุมระดับโลกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ COP28 ณ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยได้ร่วมกับบริษัทด้านพลังงานจากทั่วโลกให้พันธสัญญาว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (Oil & Gas Decarbonization Charter) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงาน นอกจากนี้ บริษัทยังได้เข้าประชุม Business & Philanthropy Climate Forum กับกว่า 500 ผู้นำองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม ในการประชุมครั้งนี้ ปตท.สผ. ได้จัดแสดงข้อมูลภายในบูธ Thailand Pavilion ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของไทย เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของบริษัทในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 ผ่านแนวคิด EP Net Zero 2050 ซึ่งรวมถึง เทคโนโลยี CCS (Carbon Capture and Storage) การบริหารจัดการการปล่อยก๊าซมีเทน และ Smart Forest Solution นอกจากนี้ ผู้บริหาร ปตท.สผ. ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และแลกเปลี่ยนมุมมองในการเสวนาที่บูธ Thailand Pavilion เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture, Utilization and Storage) การริเริ่มนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการดำเนินงาน การพัฒนาพลังงานแห่งอนาคต เช่น ไฮโดรเจน รวมถึงการฟื้นฟูดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ของบริษัทเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 


 

ปตท.สผ. และพันธมิตรเข้าร่วม ASEAN Methane Leadership Program (MLP) 

คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ซีอีโอ ปตท.สผ. พร้อมผู้บริหารระดับสูงจาก 13 องค์กร ร่วมพิธีเปิด ASEAN Methane Leadership Program (MLP) ในงาน Energy Asia 2023 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตอกย้ำความมุ่งมั่นของ ปตท.สผ. ในการเดินหน้าตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งการบริหารจัดการก๊าซมีเทนอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของเป้าหมายดังกล่าว

MLP เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและประสบการณ์ ตลอดจนการเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซมีเทนในภาคพลังงานของอาเซียน

 


 

ปตท.สผ. เข้าร่วมการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (TCAC 2) 

ปตท.สผ. เข้าร่วมการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (TCAC 2) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2566 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้แนวคิด “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ในการประชุมครั้งนี้ คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ซีอีโอ ปตท.สผ. ได้ร่วมบรรยายในช่วง “ธุรกิจไทยร่วมขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Business Solutions for Carbon Neutrality)” โดยได้เล่าถึงความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage) หรือ CCS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ภายในปี 2608 โดย ปตท.สผ. ได้เริ่มการศึกษาพัฒนา CCS ครั้งแรกในประเทศไทยที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอาทิตย์ในอ่าวไทย และได้ยังร่วมมือกันภายในกลุ่ม ปตท. ศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ CCS ในพื้นที่ปฏิบัติการของ กลุ่ม ปตท. จังหวัดระยองและชลบุรี (Eastern CCS Hub)


ภายในงาน ปตท.สผ. ยังได้นำเสนอเทคโนโลยีต่าง ๆ ในบูธนิทรรศการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนิทรรศการของ กลุ่ม ปตท. ได้แก่ CCS และVARUNA Smart Forest Solutionซึ่งเป็นผลงานของARVในเครือ ปตท.สผ.ที่ช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว คำนวณคาร์บอนเครดิต และติดตามดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ


 

ปตท.สผ. แสดงวิสัยทัศน์และนวัตกรรมในงานประชุมด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติระดับโลก “ADIPEC 2023”

ปตท.สผ. ร่วมงาน ADIPEC 2023 ซึ่งเป็นงานนิทรรศการและการประชุมด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติระดับโลก ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Decarbonising. Faster. Together.” ซึ่งคุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. ได้แสดงวิสัยทัศน์ในการเสวนา หัวข้อ “How upstream producers are decarbonising operations” นอกจากนี้ ผู้บริหารและพนักงาน ปตท.สผ. ได้นำเสนอบทความทางวิชาการต่าง ๆ ภายในงานอีกด้วย


สำหรับบูธนิทรรศการครั้งนี้ ปตท.สผ. ได้จัดแสดงในธีม “Journey to the Endless Possibilities” ซึ่งนำเสนอกลยุทธ์การเติบโตพร้อมกับเป้าหมาย EP Net Zero ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ และนำเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจ ทั้งเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ ปตท.สผ. และเออาร์วี ซึ่งเป็นบริษัทย่อย พัฒนาขึ้นร่วมกับพันธมิตร เพื่อช่วยในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนี้

  • “MERIns & MERClean” อุปกรณ์เก็บตัวอย่างผิวท่อส่งปิโตรเลียมอัจฉริยะ และสารเคมีสำหรับทำความสะอาดภายในของท่อปิโตรเลียม เพื่อสนับสนุนวิธีการรื้อถอนท่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • “Thermite” เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงเพื่อการปิดและสละหลุมปิโตรเลียมที่ใกล้หมดอายุ
  • “SEACURE” เทคโนโลยีการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหินแร่เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของปะการังเทียม และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
  • “XPLORER” ยานสำรวจใต้น้ำอัตโนมัติสำหรับตรวจสอบท่อปิโตรเลียมใต้ทะเล ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน
  • “VARUNA Carbon Credit Solution Platform” แพลตฟอร์มที่ช่วยคำนวณคาร์บอนเครดิตได้อย่างแม่นยำ
  • “Smart City Solution Platform” นวัตกรรมอัจฉริยะที่ช่วยในการบริหารจัดการเมือง
  • “HORRUS” อากาศยานสำรวจอัตโนมัติ ที่ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
  • โครงการต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อฟื้นฟูดูแลความสมบูรณ์ทางทะเลและบลูคาร์บอน

ADIPEC 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 ตุลาคม 2566 โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมงานกว่า 160,000 คน จาก 30 ประเทศทั่วโลก นับเป็นอีกเวทีสำคัญในการแสดงศักยภาพของบริษัทพลังงานไทยในเวทีโลก เพื่อพัฒนาอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมพลังงาน

ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับงานเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ ADIPEC 2023





PTTEP Ocean Data Platform

 



ข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้น นับว่ามีความสำคัญมากต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โดยเฉพาะข้อมูลบริเวณกลางทะเลซึ่งไกลจากฝั่งไปกว่า 200 กิโลเมตร ซึ่งในประเทศไทยยังมีข้อมูลเหล่านี้ไม่มากนัก

ปตท.สผ. จึงได้จัดทำ PTTEP Ocean Data Platform ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลวิทยาศาสตร์และสุขภาพทางทะเลของพื้นที่ไกลฝั่งดังกล่าว โดยใช้แท่นผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่งเป็นสถานีในการเก็บข้อมูลด้วย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลของทะเลบริเวณเกาะมันในอีกด้วย


PTTEP Ocean Data Platform จะเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งด้านอุตุนิยมวิทยา และสมุทรศาสตร์ เช่น ข้อมูลลม อุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิผิวน้ำ ข้อมูลปริมาณไมโครพลาสติก และข้อมูลกระแสน้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำแผนอนุรักษ์และแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและระบบเตือนภัยต่าง ๆ รวมถึงการต่อยอดแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ อาทิ คาดการณ์การเคลื่อนที่ของขยะทะเล ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน กระแสน้ำที่จะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากโครงการภายใต้กลยุทธ์ทะเลเพื่อชีวิต (Ocean for Life) ซึ่ง ปตท.สผ. ดำเนินการร่วมกับพันธมิตรมาอย่างต่อเนื่องในการอนุรักษ์ฟื้นฟูท้องทะเลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 14: Life Below Water ด้วย

PTTEP Ocean Data Platform เปิดให้นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และบุคลทั่วไป สามารถนำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ทะเลร่วมกันกับบริษัท

 

 

สำรวจรอยยิ้ม ผลิตความสุข เดอะซีรีย์

ติดตามชม “สำรวจรอยยิ้ม ผลิตความสุข เดอะซีรี่ย์” ที่นำเสนอเรื่องราวของพนักงานจิตอาสา ปตท.สผ. กับ 5 ภารกิจในโครงการเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพราะความรู้และเทคโนโลยีที่ ปตท.สผ. มี ไม่ได้ใช้เพื่อค้นหาพลังงานเท่านั้น แต่ยังพร้อมสร้างรอยยิ้มและความสุขให้แก่ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ พวกเรา

 



Features