กรณีตัวอย่างด้านความหลากหลายทางชีวภาพ "สัญญาณแห่งคุณค่าทางชีวภาพ" และ "การจัดฝึกอบรมด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการทางระบบนิเวศให้กับพนักงานที่ปฏิบัติการในพื้นที่คุ้มครอง"

17 พ.ค. 2562

สัญญาณแห่งคุณค่าทางชีวภาพ

โครงการท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติซอติก้า ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน Tanintharyi สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธ์มากมาย ปตท.สผ. และ Thanintharyi National Reserved Project ได้จัดทำโครงการตรวจติดตาม สิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธ์โดยใช้กล้องดักฟัง และกล้องจากโทรศัพท์มือถือของพนักงาน ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งภายใต้ แผนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plans – BAPs) ของโครงการ ซึ่งในปี 2560 พบสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ 2 ชนิด คือ หมูหริ่ง (the “Hog Badger (Arctonyx Collaris)” (Venerable Species:VU)) และเก้ง (the “Barking Deer” (Muntiacus Muntjak) (Least Concerned Species:LC)) และในปี 2561 พบสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ 2 ชนิด คือ ช้างเอเชีย (“the Asian Elephant” (Elephas Maximus)” (Endangered Species:EN)) และเก้ง (the “Barking Deer” (Muntiacus Muntjak) (Least Concerned Species:LC)) ภายในพื้นที่ปฏิบัติการ การบันทึกชนิดของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวทำให้ ปตท.สผ.มั่นใจว่าไม่มีการสูญเสียของความหลากหลายทางชีวภาพเกิดขึ้นภายในพื้นที่ปฏิบัติการ





การจัดฝึกอบรมด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการทางระบบนิเวศให้กับพนักงานที่ปฏิบัติการในพื้นที่คุ้มครอง

ปตท.สผ. มีการจัดฝึกอบรมด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการทางระบบนิเวศให้กับพนักงานทุกคนที่ปฏิบัติการในพื้นที่คุ้มครองอย่างต่อเนื่อง เช่น พนักงานที่ปฏิบัติการในโครงการท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติซอติก้า ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน Taninthayri เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และความรู้ต่อการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการทางระบบนิเวศให้กับพนักงานที่ปฏิบัติการในพื้นที่คุ้มครอง