นักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลประชุมผู้ถือหุ้น
การเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและชื่อกรรมการล่วงหน้า
เจตนารมณ์ close | open
ปตท.สผ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและโปร่งใสตามการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมในการให้ผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและชื่อบุคคลเพื่อพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทล่วงหน้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ซึ่งจะช่วยกลั่นกรองให้ได้ระเบียบวาระที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทอย่างแท้จริง และคัดสรรบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
นิยาม close | open
“บริษัท” หมายความว่า บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.
“ระเบียบวาระการประชุม” หมายความว่า ระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ของ ปตท.สผ.
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการ ปตท.สผ.
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการ ปตท.สผ.
“ระเบียบวาระการประชุม” หมายความว่า ระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ของ ปตท.สผ.
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการ ปตท.สผ.
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการ ปตท.สผ.
คุณสมบัติของผู้ถือหุ้น close | open
ผู้ถือหุ้นที่จะเสนอระเบียบวาระการประชุมหรือเสนอชื่อกรรมการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
3.1 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่เสนอระเบียบวาระการประชุมหรือเสนอชื่อกรรมการ โดยอาจเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียวหรือหลายรายรวมกันก็ได้ และ
3.2 มีสัดส่วนการถือหุ้นขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 หุ้น
3.1 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่เสนอระเบียบวาระการประชุมหรือเสนอชื่อกรรมการ โดยอาจเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียวหรือหลายรายรวมกันก็ได้ และ
3.2 มีสัดส่วนการถือหุ้นขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 หุ้น
การเสนอระเบียบวาระการประชุม close | open
4.1 วิธีการเสนอ
4.2 วิธีการพิจารณา
(1) | ต้องเสนอโดยผู้ถือหุ้นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 3 |
(2) | ต้องกรอก “แบบเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 (แบบ ก.)” และส่งต้นฉบับของแบบ ก. พร้อมเอกสารหลักฐานที่บริษัทกำหนดให้ถึงบริษัทภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เพื่อให้คณะกรรมการมีเวลาเพียงพอในการพิจารณาระเบียบวาระการประชุม ทั้งนี้ สามารถส่งอย่างไม่เป็นทางการทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) corporatesecretary@pttep.com หรือทางโทรสาร หมายเลข 0-2537-4500 ก่อนนำส่งเอกสารต้นฉบับได้ |
(3) | กรณีผู้ถือหุ้นหลายรายรวมกันเสนอระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นทุกรายต้องกรอก “แบบ ก.” และลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน แล้วรวมส่งเป็นชุดเดียวกั |
4.2 วิธีการพิจารณา
(1) | คณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของระเบียบวาระการประชุมที่ผู้ถือหุ้นเสนอ ซึ่งจะต้องไม่มีลักษณะดังนี้ | |
(1.1) | เรื่องที่กำหนดในมาตรา 89/28 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มเติม [1] | |
(1.2) | เรื่องที่ขัดกับกฎหมาย ประกาศ และระเบียบต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัท หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติที่ประชุม ผู้ถือหุ้น และการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. |
|
(1.3) | เรื่องที่บริษัทได้ดำเนินการแล้ว | |
(1.4) | เรื่องที่ผู้ถือหุ้นให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้อง หรือไม่สามารถติดต่อได้ หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด | |
ทั้งนี้ เว้นแต่คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นอย่างอื่น และให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด | ||
(2) | เรื่องที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจะบรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุม พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ | |
(3) | เรื่องที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ บริษัทจะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบพร้อมชี้แจงเหตุผลผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือช่องทางอื่นที่เหมาะสม และแจ้งเป็นระเบียบวาระเพื่อทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นด้วย |
[1] | (1) | เป็นเรื่องที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคหนึ่งของมาตรา 89/28 |
(2) | เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท และข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างโดยผู้ถือหุ้นมิได้แสดงถึงเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความไม่ปกติของเรื่องดังกล่าว | |
(3) | เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจที่บริษัทจะดำเนินการให้เกิดผลตามที่ประสงค์ | |
(4) | เป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นได้เคยเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแล้วในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และเรื่องดังกล่าวได้รับมติสนับสนุนด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท เว้นแต่ข้อเท็จจริงในการนำเสนอครั้งใหม่จะได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญจากข้อเท็จจริงในขณะที่นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งก่อน | |
(5) | กรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด |
การเสนอชื่อกรรมการ close | open
5.1 วิธีการเสนอ
5.2 วิธีการพิจารณา
(1) | ต้องเสนอโดยผู้ถือหุ้นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 3 |
(2) | ต้องกรอก “แบบเสนอชื่อกรรมการ (แบบ ข.)” และ “แบบข้อมูลของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ” และส่งต้นฉบับของแบบ ข. และแบบข้อมูลของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการพร้อมเอกสารหลักฐานที่บริษัทกำหนดให้ถึงบริษัทภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เพื่อให้ ปตท.สผ. มีเวลาในการพิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบคุณสมบัติก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาให้ความเห็นชอบรายชื่อกรรมการ |
ทั้งนี้ สามารถส่งอย่างไม่เป็นทางการทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) corporatesecretary@pttep.com หรือทางโทรสาร หมายเลข 0-2537-4500 ก่อนนำส่งเอกสารต้นฉบับได้ | |
(3) | กรณีผู้ถือหุ้นหลายรายรวมกันเสนอชื่อกรรมการ ผู้ถือหุ้นทุกรายต้องกรอก “แบบ ข.” และลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน แล้วรวมส่งเป็นชุดเดียวกัน |
5.2 วิธีการพิจารณา
(1) | คณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ | |
(1.1) | มีคุณสมบัติถูกต้องและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | |
(1.2) | มีอายุไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ (นับถึงสิ้นปี 2566) | |
(1.3) | มีความรู้ ความสามารถ ที่เป็นประโยชน์อย่างสำคัญต่อธุรกิจของบริษัท โดย ปตท.สผ. ได้กำหนด Skill Mix ของคณะกรรมการ ปตท.สผ. สำหรับใช้เป็นกรอบการพิจารณาสรรหากรรมการ ซึ่งในปี 2566 จะให้ความสำคัญในทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง (Organization Change and Development) ด้านเทคโนโลยี (Technology) ด้านกฎหมาย (Legal) และด้านการตลาดการพาณิชย์ที่เป็นสากล การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ทางการทูต (International Market and Collaborations) โดยอาจพิจารณา Skill Mix ด้านอื่นที่ยังมีสัดส่วนกรรมการไม่มากตามความจำเป็นและสมควรด้วยส่วนหนึ่ง | |
(1.4) | ไม่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทจดทะเบียนเกิน 3 บริษัท (รวม ปตท.สผ. กรณีได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ) | |
(1.5) | ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจและหรือนิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่า 3 แห่ง | |
(2) | คณะกรรมการจะเสนอรายชื่อบุคคลที่มีคุณวุฒิ และประสบการณ์ที่เหมาะสม รวมถึงมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (1) ต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2557 ข้อ 12 ต่อไป | |
(3) | บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) จะได้รับการบรรจุชื่อในระเบียบวาระการประชุม พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการและ คนร. (ถ้ามี) | |
(4) | บุคคลที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ปตท.สผ. จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบพร้อมชี้แจงเหตุผลผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือช่องทางอื่นที่เหมาะสม และแจ้งเป็นระเบียบวาระเพื่อทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นด้วย |