การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจ

คณะกรรมการ ปตท.สผ. กำหนดให้มี “การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ.” เพื่อให้ทุกคนในองค์กรยึดถือปฏิบัติ เป็นวิถีชี้นำในการดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐาน โปร่งใส มีประสิทธิภาพ จริยธรรม และสามารถตรวจสอบได้ โดยดูแลสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายให้ได้รับประโยชน์ตามส่วนด้วยความเป็นธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับโดยทั่วไป
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจ โดยมีจรรยาบรรณในการดำเนินงาน จึงจัดให้มีจรรยาบรรณบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ปี 2532 และมีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ปี 2544 โดยคณะกรรมการ ปตท.สผ. และคณะผู้บริหาร ได้ให้ความสำคัญกับ การยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรม จึงให้มีการทบทวน ปรับปรุงถ้อยคำและหลักการ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดีของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลขึ้น สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นประจำทุกปี การปรับปรุงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 10 ที่คณะกรรมการ ปตท.สผ. ได้อนุมัติ และประกาศให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือปฏิบัติในการดำเนินงาน รวมถึงสนับสนุนให้บริษัทร่วมทุน คู่ค้า และตัวแทน ที่ดำเนินการในนาม ปตท.สผ. ทั้งหมดรับหลักการและมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. ไปใช้ปฏิบัติตามความเหมาะสมกับแต่ละรายด้วย
ความเข้าใจและมุ่งมั่นยึดถือปฏิบัติตามการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. อย่างจริงจัง ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนจะนำพา ปตท.สผ. ให้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายในการเติบโต รุ่งเรือง มั่นคง ยั่งยืน และสง่างาม จึงขอให้ทุกคนทำความเข้าใจ รักษาและปฏิบัติตามพันธสัญญานี้ และในกรณีที่พบเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ขอให้แจ้งเรื่องผ่านช่องทางที่กำหนดไว้ตาม “ระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง” ปตท.สผ. ให้ความมั่นใจว่า ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้องจะได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสมและจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากการให้ข้อมูลหรือให้ความร่วมมือในกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
(นายปรัชญา ภิญญาวัธน์)
ประธานกรรมการ
30 มกราคม 2562
พลเรือเอก
(ธนะรัตน์ อุบล)
ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล
30 มกราคม 2562
(นายพงศธร ทวีสิน)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ
กรรมการผู้จัดการใหญ่
30 มกราคม 2562
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
หมายเหตุ: ในการปรับโครงสร้างองค์กร ณ วันที่ 1 มกราคม 2562 ได้ควบรวมตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำรวจและผลิตปิโตรเลียม และประธานเจ้าหน้าที่บริหารเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
จริยธรรมธุรกิจ คือ ข้อประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องดีงาม ที่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องปฏิบัติตามซึ่งหากฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามในส่วนที่เป็น “หลักการ” และ “ตัวอย่างแนวปฏิบัติ” จะต้องรับโทษ
ปตท.สผ. เชื่อมั่นว่า “การกำกับดูแลกิจการที่ดี”และ “จริยธรรมธุรกิจ” ของกลุ่ม ปตท.สผ. จะช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขัน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการสื่อสารที่ชัดเจนโปร่งใสอย่างเท่าเทียมกัน เป็นการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและการใช้อำนาจของคณะกรรมการและผู้บริหาร เพื่อดูแลสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญที่กำหนดภาพรวมและทิศทางดำเนินการของมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นขององค์กร เพื่อส่งเสริมให้กลุ่ม ปตท.สผ. บรรลุเป้าหมาย 5 ประการ ได้แก่ “เติบโต รุ่งเรือง มั่นคง ยั่งยืน และสง่างาม”
หน่วยงานเลขานุการบริษัทโดยความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และรายงานผลดังกล่าวให้คณะกรรมการ ปตท.สผ. ทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
1. | เป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ | |
2. | เป็นการกระทำที่สังคมยอมรับหรือเปิดเผยต่อสังคมได้หรือไม่ | |
3. | เป็นการกระทำที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงที่ดีงามของบริษัทหรือไม่ |
ทั้งนี้ ก่อนการถามคำถาม 3 ข้อข้างต้น กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องเข้าใจ ทิศทางการดำเนินการของกลุ่ม ปตท.สผ. ในเรื่องนั้น ๆ ประกอบด้วย โดยสามารถสอบถามได้จากผู้บังคับบัญชา หรือพิจารณาจากแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม รวมถึงแผนกลยุทธ์หรือวิธีปฎิบัติที่ผ่านมาที่เป็นที่ยอมรับ มาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม “จริยธรรมธุรกิจ” ของกลุ่ม ปตท.สผ. จะถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยตามความร้ายแรงหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และหากฝ่าฝืนกฎหมายก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายด้วย ทั้งนี้ หากผู้บังคับบัญชาละเลยไม่ดูแลให้มีการปฏิบัติตาม หรือไม่ดำเนินการลงโทษตามความเหมาะสม จะได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยด้วย
• ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
• CG Promotion Team (CGPromotion@pttep.com)
• หน่วยงานเลขานุการบริษัท (CorporateSecretary@pttep.com)
• หน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นโดยตรง
1. | จดหมาย ถึง กรรมการ หรือผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานบรรษัทภิบาล สายงานเลขานุการบริษัท บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 33 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 |
|
2. | อีเมล ถึงผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานบรรษัทภิบาล สายงานเลขานุการบริษัท (cghotline@pttep.com) | |
3. | ระบบการรับเรื่องร้องเรียนของกลุ่ม ปตท.สผ. (Whistleblowing System) ในเว็บไซต์ www.pttep.com |
นอกจากนี้ หากเป็นเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท.สผ. ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยังผู้ประสานงานเรื่องร้องเรียนของบริษัทย่อยด้วย
โดย ปตท.สผ. จะดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง โดยถือปฏิบัติเป็นเรื่องลับ และจะดำเนินการอย่างระมัดระวัง ตลอดจนมีการให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ได้รับความเป็นธรรม หรือไม่ถูกกลั่นแกล้งในทุกลักษณะ
เพื่อให้ “การกำกับดูแลกิจการที่ดี” และ “จริยธรรมธุรกิจ” ของกลุ่ม ปตท.สผ. สอดคล้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจรวมถึงกฎเกณฑ์กติกาต่าง ๆ ที่กลุ่ม ปตท.สผ. ต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ จึงให้มีการทบทวนเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง |
ส่วนที่ 2 การกำกับดูแลกิจการที่ดีของกลุ่ม ปตท.สผ.
1) | ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่(Responsibility) หมายถึง การมุ่งมั่นและทุ่มเทในเรื่องที่มีหน้าที่รับผิดชอบ หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตน อย่างเต็มความสามารถ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท ความรับผิดชอบนี้รวมถึงความรับผิดชอบต่อตนเองที่ต้องเรียนรู้และเพิ่มขีดความสามารถที่เป็นประโยชน์อยู่เสมอ | |
2) | ความรับผิดรับชอบต่อผลของการตัดสินใจและการกระทำของตนเอง(Accountability) หมายถึง การดำเนินการหรือตัดสินใจใด ๆ อย่างรอบคอบ รัดกุม ภายใต้เหตุผลสนับสนุนที่เชื่อโดยสุจริตว่าเพียงพอ และพร้อมยอมรับผลจากการกระทำเหล่านั้นอย่างกล้าหาญ | |
3) | ความยุติธรรมและซื่อสัตย์ (Fairness and Integrity) หมายถึง การปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยปราศจากความลำเอียง ให้ความเท่าเทียมกันยึดมั่นในความถูกต้อง และถือระบบคุณธรรม | |
4) | ความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ มีหลักฐานอ้างอิง และสามารถตรวจสอบชี้แจงได้เสมอ | |
5) | การสร้างคุณค่าระยะยาวแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (Creation of Long-term Value to Stakeholders) หมายถึง การดำเนินการทุกประการเพื่อให้บริษัทเจริญเติบโต สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย และนำพาบริษัทไปสู่เป้าหมาย “เติบโต รุ่งเรือง มั่นคงยั่งยืน และสง่างาม” รวมทั้งไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการบั่นทอนคุณค่าดังกล่าว | |
6) | การส่งเสริมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Promotion of Best Practices) หมายถึง การคิดค้นและเลือกใช้วิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดและมีความถูกต้อง เหมาะสม ในแต่ละภารกิจ |
2.1 | ปตท.สผ. ส่งเสริมการใช้สิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ของผู้ถือหุ้น เช่น สิทธิในการจดทะเบียนการเป็นเจ้าของหุ้น สิทธิในการเปลี่ยนมือหรือการโอนสิทธิในหุ้นของตน สิทธิในการได้รับแจ้งข้อมูลและข่าวสารที่มีนัยสำคัญของกลุ่ม ปตท.สผ. อย่างสม่ำเสมอและตรงเวลาตามที่ควรจะเป็น สิทธิในการเข้าร่วมประชุมเพื่อออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัท สิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร เป็นต้น | |
2.2 | ปตท.สผ. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับอย่างเคร่งครัดในเรื่องที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการตัดสินใจหรือสิทธิที่จะได้รับทราบถึงผลของการตัดสินใจของกลุ่ม ปตท.สผ. ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐานของกลุ่ม ปตท.สผ. เช่น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัท การอนุมัติการเพิ่มทุน รายการพิเศษอื่น ๆ ที่มิใช่รายการที่เกิดขึ้นตามปกติ เช่น การโอนทรัพย์สินในขนาดที่มีนัยสำคัญ เป็นต้น | |
2.3 | ปตท. สผ. ให้สิทธิกับผู้ถือหุ้นในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการเช่น การเสนอชื่อและการแต่งตั้งกรรมการบริษัท รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าตอบแทน (Remuneration Policy) ที่ให้แก่กรรมการ | |
2.4 | ปตท.สผ. ดูแลให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงอย่างเต็มที่ โดยผู้ถือหุ้นมีสิทธิตามจำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่อย่างเท่าเทียมกัน (หนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง) ตลอดจนดูแลให้ผู้ถือหุ้นได้รับแจ้งกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วนและชัดเจน ซึ่งรวมถึงกระบวนการในการออกเสียงลงคะแนน และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้ซักถามและได้รับการชี้แจงจากคณะกรรมการและผู้บริหารที่รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องในระเบียบวาระต่าง ๆ อย่างเต็มที่ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอระเบียบวาระได้ล่วงหน้า และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นในการมอบฉันทะให้บุคคลอื่น หรือกรรมการอิสระของ ปตท.สผ. เพื่อออกเสียงลงคะแนนแทนตน ทั้งนี้ ปตท.สผ. จะเปิดเผยข้อมูลการประชุมผู้ถือหุ้นบนเว็บไซต์ล่วงหน้าก่อนวันประชุม 1 เดือน โดยประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประชุมและกิจการของ ปตท.สผ. และมติของที่ประชุมจะถูกบันทึกไว้ในรายงานการประชุมอย่างครบถ้วน ชัดเจน ก่อนนำส่งให้กับผู้ถือหุ้นเมื่อได้เผยแพร่รายงานผ่านระบบการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว | |
2.5 | ปตท.สผ. ตระหนักถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นที่มีความประสงค์จะเข้าควบคุมกิจการ โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการเข้ามีอำนาจควบคุมการดำเนินกิจการอย่างเคร่งครัด และระมัดระวังไม่ให้มีการทำรายการต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามการดำเนินกิจการโดยปกติที่อาจเข้าข่ายเป็นการถ่ายเททรัพย์สิน หรือขัดขวางการเข้าควบคุมการดำเนินกิจการนั้นด้วยการใช้มาตรการป้องกันการถูกครอบงำกิจการต่าง ๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ กลุ่ม ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา เพื่อให้ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น | |
2.6 | ปตท.สผ. เคารพสิทธิของผู้ถือหุ้นที่จะมอบอำนาจให้บุคคลที่ทำการชักชวนชี้นำหรือกระทำด้วยประการใด ๆ เป็นการทั่วไปเพื่อให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้ตนหรือบุคคลอื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนแทนตนได้ หากเป็นการดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมาย | |
2.7 | ปตท.สผ. ดูแลรักษาการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม โดยจะดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบ ปกป้องรักษาทรัพย์สินและสถานภาพทางการเงิน ให้มีสภาวะมั่นคง รวมทั้งพัฒนางานของกลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงและความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน |
3.1 | ปตท.สผ. ออกหุ้นสามัญซึ่งผู้ถือหุ้นแต่ละรายมีสิทธิเท่าเทียมกันตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ โดยหุ้นสามัญหนึ่งหุ้นจะมีสิทธิออกเสียงหนึ่งเสียง ทั้งนี้ การแก้ไขสิทธิออกเสียงจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องเสนอขายหลักทรัพย์ ปตท.สผ. จะพิจารณาแนวทางเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ถือหุ้น (Dilution Affect) เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น | |
3.2 | ปตท.สผ. ดูแลให้กระบวนการและวิธีการในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นมีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน มีกระบวนการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเสียงที่ไม่ยุ่งยาก และผู้ถือหุ้นสามารถเข้าใจถึงวิธีการได้ง่าย รวมถึงจัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและเปิดเผยข้อมูลนั้นบนเว็บไซต์ ปตท.สผ. ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่อยู่ต่างประเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว มีเวลาเพียงพอในการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง | |
3.3 | ปตท.สผ. กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ปตท.สผ. เปิดเผยข้อมูลรายการธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และในกรณีที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใดก็จะต้องไม่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้ถือหุ้นทุกรายว่า การดำเนินการต่าง ๆ ของ ปตท.สผ. อยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของ ปตท.สผ. เป็นสำคัญ | |
3.4 | ปตท.สผ. กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน หรือที่เป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง |
กลุ่ม ปตท.สผ. ตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ และปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ดังนี้
4.1 | ลูกค้า (Customer): ได้รับผลิตภัณฑ์ และ/หรือ บริการต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาการให้บริการ มีคุณภาพ และความปลอดภัย โดยผ่านขั้นตอนวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในด้านคุณสมบัติ เทคโนโลยีที่ใช้ และการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น | |
4.2 | พนักงาน (Employee): ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถให้เกิดศักยภาพในการปฏิบัติงานสูงสุด โดยจัดให้มีสภาพการจ้างที่เหมาะสม ยุติธรรม และมีโอกาสก้าวหน้าในบริษัทอย่างเป็นธรรม รวมทั้งจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีตามมาตรฐานและปลอดภัย เปิดรับฟังความคิดเห็น มีความไว้วางใจ ยุติธรรม เนื่องจากทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และกลุ่ม ปตท.สผ. ส่งเสริมคนดีและคนเก่งและเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน | |
4.3 | รัฐบาล (Government): มีการยึดถือปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องมีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อถือต่อหน่วยงานราชการ และให้ความร่วมมือในการเป็นพลเมืองที่ดี และเสียภาษีอย่างถูกต้อง | |
4.4 | ผู้ร่วมทุน (Partner): มีการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมืออาชีพและโปร่งใส เพื่อผลประโยชน์สูงสุดร่วมกัน ภายใต้สัญญาร่วมทุน เงื่อนไข หรือข้อกำหนดต่าง ๆ ที่กำหนดร่วมกัน | |
4.5 | สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม (Society, Community and Environment): ปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองที่ดีและมีความรับผิดชอบ มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคลากร สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม | |
4.6 | ผู้ค้า/ผู้ขาย (Supplier/Contractor): มีการปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมตามเงื่อนไขสัญญาที่ตกลงกัน มีวิธีการคัดเลือกที่มีความชัดเจน โปร่งใส ยุติธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อบริษัทสูงสุด | |
4.7 | เจ้าหนี้ (Lender): มีการปฏิบัติและให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ตามลำดับชั้นของหนี้ตามสัญญาและกฎหมาย สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ชำระหนี้ตรงตามพันธสัญญารักษาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการดำรงสถานะทางการเงินตามที่ระบุหรือประกาศไว้ รวมถึงดูแลให้กลุ่ม ปตท.สผ. มีวิธีการดำเนินงานที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เจ้าหนี้ | |
4.8 | คู่แข่ง (Competitor): มีการแข่งขันอย่างยุติธรรม มีการปฏิบัติที่เสมอภาค ไม่ดูหมิ่น และปฏิบัติต่อกันอย่างมืออาชีพ เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าในทุกพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจ | |
4.9 | ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (Local Culture and Tradition): ให้ความเคารพนับถืออย่างเหมาะสมโดยกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือบุคคลใด ๆ ที่กระทำการในนามบริษัทจะต้องไม่กระทำการอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่เคารพขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามในพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจ | |
4.10 | สิทธิมนุษยชน (Human Right): ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและหลักการอื่น ๆ รวม 4 ด้าน คือ สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านคอร์รัปชั่นขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) |
ระบบโครงสร้างคณะกรรมการ
ปตท.สผ. ได้กำหนดโครงสร้างคณะกรรมการเป็นระบบเดี่ยว (One-Tier System) ประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่เกิน 15 คน โดยมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่มีอยู่ และต้องมีกรรมการที่เป็นกรรมการบุคคลภายนอกจากภาคเอกชนอย่างน้อย 3 คน และมีกรรมการ 1 คนเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน คือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทั้งนี้ กรรมการทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายและข้อบังคับกำหนดไว้ โดยต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการสรรหาด้วย
กรรมการอิสระของ ปตท.สผ. จะต้องตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติความเป็นอิสระของตนเอง รวมทั้งทบทวนเป็นประจำทุกปี โดยกรรมการอิสระ หมายความว่า กรรมการ ปตท.สผ. ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด และจะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมตามคำนิยามที่ ปตท.สผ. กำหนดไว้ซึ่งเข้มกว่าที่กฎหมายไว้ ดังนี้
1) | ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ ปตท.สผ. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. ทั้งนี้ โดยให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้น ๆ ด้วย | |
2) | ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการหรือที่ปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. | |
3) | ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตรของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผู้มีอำนาจควบคุมหรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. หรือบริษัทย่อย | |
4) | ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ ปตท.สผ. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัยหรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ ปตท.สผ. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่งรวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการการเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงินด้วย การรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้ ปตท.สผ. หรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของ ปตท.สผ. หรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไปแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันโดยอนุโลมแต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าวให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน |
|
5) | ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของ ปตท.สผ. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชีซึ่งมีผู้สอบบัญชีของ ปตท.สผ. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. สังกัดอยู่เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี | |
6) | ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมาย หรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจาก ปตท.สผ. บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุมหรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วยเว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีี | |
7) | ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของ ปตท.สผ. หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่นซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของ ปตท.สผ. หรือบริษัทย่อย | |
8) | ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของ ปตท.สผ. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท.สผ. | |
9) | ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ปตท.สผ. |
ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตาม 1) ถึง 9) แล้วกรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของ ปตท.สผ. บริษัทใหญ่บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ ปตท.สผ. โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (Collective Decision) ได้
อนึ่ง คำจำกัดความที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนิยามกรรมการอิสระ เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เกี่ยวกับการกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
ความหลากหลายของกรรมการ
โครงสร้างคณะกรรมการ ปตท.สผ. คำนึงถึงความหลากหลายในด้านต่าง ๆ โดยไม่จำกัด เพศ เชื้อชาติ หรือความแตกต่างอื่นใด เพื่อให้มีโครงสร้างคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ที่มีทักษะ ความรู้ ประสบการณ์อย่างสมดุลในสาขาต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่ง ปตท.สผ. จะมีการทบทวนความสมดุลและความเพียงพอในแต่ละสาขาอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
การดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง และการจำกัดจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการดำรงตำแหน่ง
ปตท.สผ. กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องของกรรมการและกรรมการอิสระไว้ไม่เกิน 9 ปี โดยกรรมการที่ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องจนครบ 9 ปี จะไม่ได้รับการพิจารณาเลือกตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการอีก
ปตท.สผ. กำหนดนโยบายจำกัดจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการแต่ละคนจะดำรงตำแหน่งกรรมการได้ไม่เกิน 3 แห่ง
เกษียณอายุของกรรมการ
กรรมการ ปตท.สผ. ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและมีอายุไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์และเมื่อกรรมการ ปตท.สผ. มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์จะถือว่าขาดคุณสมบัติกรรมการ ปตท.สผ. ทันที และต้องทำหนังสือแจ้ง ปตท.สผ. เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
6.2 การสรรหากรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
คณะกรรมการสรรหาของบริษัททำหน้าที่สรรหากรรมการ ปตท.สผ. ตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของกลุ่ม ปตท.สผ. โดยคณะกรรมการสรรหาจะพิจารณาผู้ที่มีทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ คุณสมบัติเฉพาะในด้านต่าง ๆ ที่คณะกรรมการ ปตท.สผ. ยังขาดอยู่และที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของกลุ่ม ปตท.สผ. ก่อนเป็นลำดับต้นเพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการ ปตท.สผ. มีความสมบูรณ์เป็นประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่ม ปตท.สผ. รวมทั้งคำนึงถึงโอกาสที่อาจมีปัญหาในเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของกรรมการ ปตท.สผ. ด้วย
เมื่อตำแหน่งกรรมการของ ปตท.สผ. ว่างลง คณะกรรมการสรรหาของบริษัทมีหน้าที่สรรหาและคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ โดยพิจารณาจากบัญชีรายชื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งข้อคิดเห็นจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่และจะมีการพิจารณาบุคคลที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอชื่อเพื่อพิจารณาเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการในการประชุมผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่ ปตท.สผ. กำหนดด้วย นอกจากนี้ กรรมการ ปตท.สผ. ยังต้องตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติกรรมการของตนเอง รวมทั้งทบทวนเป็นประจำทุกปี
การเลือกตั้งกรรมการ ปตท.สผ. แทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่งเมื่อครบวาระ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี โดยใช้วิธีเลือกตั้งเป็นรายบุคคล และแต่ละคนจะต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงลงคะแนน ในกรณีที่จำนวนบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ มีจำนวนเกินกว่าจำนวนกรรมการที่จะพึงได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้น ข้อบังคับของ ปตท.สผ. กำหนดให้บุคคลซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดตามลำดับลงมา เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่ากับจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ทั้งนี้ ปตท.สผ. ได้ให้สิทธิกับผู้ถือหุ้นที่จะเสนอชื่อบุคคลเป็นกรรมการได้ล่วงหน้าก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ซึ่งจะมีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
การเลือกตั้งกรรมการ ปตท.สผ. แทนตำแหน่งที่ว่างในกรณีอื่นที่ไม่ใช่เนื่องมาจากการครบวาระ คณะกรรมการอาจเลือกตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างได้ตามข้อบังคับบริษัท ด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ โดยบุคคลที่เข้ามาเป็นกรรมการทดแทนจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระเดิมที่เหลืออยู่ของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง
สำหรับการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. คณะกรรมการสรรหาของบริษัทจะเป็นผู้กลั่นกรองเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อแต่งตั้ง โดยจะพิจารณาจากกรรมการที่มีภาวะผู้นำ ทักษะ ประสบการณ์ วิชาชีพ คุณสมบัติเฉพาะในด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสม
6.3 บทบาทของคณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ
การแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ
คณะกรรมการและฝ่ายจัดการมีบทบาทที่สำคัญแตกต่างกัน โดยคณะกรรมการเป็นผู้ควบคุมดูแลและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงเพื่อบริหารงานประจำของกลุ่ม ปตท.สผ. ตลอดจนติดตามผลและประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการเพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่ม ปตท.สผ. และกำกับดูแลให้การดำเนินกิจการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการจะมีบทบาทในฐานะผู้กำกับดูแลและไม่ปฏิบัติงานประจำที่เป็นการดำเนินการตามปกติของฝ่ายจัดการ เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างบทบาทในการกำกับดูแล และบทบาทในฐานะผู้ปฏิบัติงานประจำ ในขณะที่ฝ่ายจัดการมีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการกำหนดไว้ หรือตามที่คณะกรรมการได้มอบหมาย รวมถึงรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ
การแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ประธานกรรมการ ปตท.สผ. กับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เลือกตั้งจากกรรมการ ปตท.สผ. โดยพิจารณาเลือกตั้งประธานกรรมการจากกรรรมการอิสระเป็นอันดับแรก และประธานกรรมการในฐานะผู้นำด้านนโยบายเป็นบุคคลคนละคนกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารในฐานะผู้นำด้านบริหารเสมอ ประธานกรรมการไม่ได้ร่วมในการบริหารงานปกติประจำวัน เพื่อแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจนและมีความสมดุลในอำนาจการดำเนินงาน โดยประธานกรรมการ ปตท.สผ. มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) | กำกับดูแลให้การทำหน้าที่ของคณะกรรมการมีประสิทธิภาพ, เป็นไปตาม Board Performance Target ของคณะกรรมการ ความคาดหวังของผู้ถือหุ้น และเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ | |
(2) | กำหนดระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการ | |
(3) | ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลให้กรรมการยึดถือปฏิบัติและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร | |
(4) | เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ |
ในขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารรับผิดชอบการบริหารจัดการบริษัทภายใต้กรอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ และที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัท
บทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ
คณะกรรมการ ปตท.สผ. มีบทบาทที่สำคัญในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) | การกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินธุรกิจ คณะกรรมการเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม แผนงาน งบประมาณ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาองค์กร ให้สอดคล้องและตอบรับกับสภาวะทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ให้คำแนะนำกับฝ่ายจัดการในการบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของ ปตท.สผ. คือ เติบโต รุ่งเรือง มั่นคง ยั่งยืน สง่างาม |
|
2) | การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจ คณะกรรมการ ปตท.สผ. กำหนดให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่ม ปตท.สผ. ยึดถือปฏิบัติเป็นวิถีทางชี้นำการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. ให้มีมาตรฐาน โปร่งใส มีประสิทธิภาพ จริยธรรม และสามารถตรวจสอบได้ โดยดูแลสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย ให้ได้รับประโยชน์ต่าง ๆ ตามส่วนด้วยความเป็นธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับโดยทั่วไป และ ได้จัดให้มีหน่วยงานบรรษัทภิบาลเป็นหน่วยงานกลางในการดูแลในเรื่องนี้ จริยธรรมธุรกิจของ กลุ่ม ปตท.สผ. ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและจริยธรรม ประกอบด้วย หลักการ ตัวอย่างแนวปฏิบัติ ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ และข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานต้องปฏิบัติตาม จึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม |
|
3) | การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการ ปตท.สผ. ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน โดยกำหนดให้กลุ่ม ปตท.สผ. มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบและฝ่ายตรวจสอบทำหน้าที่สอบทานและติดตามผลการควบคุมภายในเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ และรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้กลุ่ม ปตท.สผ. บรรลุวัตถุประสงค์ด้านการดำเนินงาน การรายงาน และการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริหาร นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ของบริษัท ทั้งนี้ ปตท.สผ. จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของการควบคุมที่เหมาะสม การประเมินความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ กิจกรรมการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ สารสนเทศและการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกที่เพียงพอและเชื่อถือได้ รวมทั้งการติดตามและประมวลผลอย่างสม่ำเสมอ |
|
4) | การบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการ ปตท.สผ. มีหน้าที่กำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทกำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง กำกับดูแลและสนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงของกลุ่ม ปตท.สผ. มีประสิทธิภาพ พิจารณาความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทั้งในระดับองค์กรและระดับโครงการ กำหนดแผนการดำเนินงาน ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผนดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดระดับความเสี่ยงให้ถึงระดับที่ยอมรับได้ พร้อมทั้งรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอและทันท่วงที |
|
5) | การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการ ปตท.สผ. เป็นผู้กำหนดเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่ม ปตท.สผ. โดยดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการบริหารจัดการ และหากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใด จะไม่ร่วมพิจารณาหรืองดออกเสียงในเรื่องนั้น รวมถึงกำหนดให้มีการเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวอย่างครบถ้วน ซึ่งได้กำหนดเรื่องนี้ไว้ในจริยธรรมธุรกิจ เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานด้านจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ |
|
6) | การกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คณะกรรมการ ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance) ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ในทุกพื้นที่ที่กลุ่ม ปตท.สผ. ดำเนินธุรกิจ และสนับสนุนให้กลุ่ม ปตท.สผ. มีการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่จะช่วยให้ทุก ๆ กระบวนการและขั้นตอนการทำงานของกลุ่ม ปตท.สผ. มีความถูกต้องและรอบคอบ รวมทั้งส่งเสริมให้บริษัทสามารถดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ โดยคณะกรรมการ ปตท.สผ. ได้กำหนดให้ฝ่ายกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เป็นหน่วยงานกลางดูแลในเรื่องนี้ี้ |
6.4 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
เพื่อให้กรรมการ ปตท.สผ. สามารถแสดงบทบาทของตนได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการ ปตท.สผ. กำหนดให้เรื่องต่อไปนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ปตท.สผ. ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และมติที่ประชุมคณะกรรมการ โดยยึดหลักความรับผิดชอบ (Accountability) ความระมัดระวัง (Duty of Care) และความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) และมีเป้าหมายสูงสุดของกลุ่ม ปตท.สผ. คือ "เติบโต มั่นคง รุ่งเรือง ยั่งยืน และ สง่างาม" ดังนี้
(1) | จัดให้มีและกำกับดูแลให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปตามการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. รวมทั้งเป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติ แนะนำ สื่อสาร และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. ให้แก่บุคลากรของกลุ่ม ปตท.สผ. และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่องค์กรอื่น ๆ ด้วย | |
(2) | พิจารณาและอนุมัติวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของกลุ่ม ปตท.สผ. ให้สามารถนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |
(3) | พิจารณาและอนุมัติแผนกลยุทธ์ ทิศทางการดำเนินงาน เป้าหมาย และโครงสร้างอัตรากำลัง และการดำเนินงานที่สำคัญของกลุ่ม ปตท.สผ. รวมทั้งติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานให้บรรลุแผนกลยุทธ์ ทิศทางการดำเนินงาน เป้าหมาย และนโยบายที่กำหนดไว้ รวมทั้งทบทวนให้มีความคล่องตัว เหมาะสม เพียงพอที่จะให้ฝ่ายจัดการสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคม | |
(4) | จัดให้มีการควบคุมภายในที่ดี โดยมีระเบียบต่าง ๆ รวมถึงกระบวนการทำงานที่ชัดเจนและเหมาะสม มีระบบบัญชี การรายงานทางการเงินที่เป็นมาตรฐาน น่าเชื่อถือ มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพียงพอ มีระบบการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ และมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ | |
(5) | พิจารณาและอนุมัติรายการที่มีนัยสำคัญตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย ระเบียบ หรืออำนาจดำเนินการของ ปตท.สผ. ซึ่งก่อให้เกิดภาระผูกพันต่าง ๆ กับ กลุ่ม ปตท.สผ. | |
(6) | พิจารณากรณีเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างรอบคอบและโปร่งใสและรายงานให้ ปตท.สผ. ทราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการป้องกันการใช้ประโยชน์อันมิควรในทรัพย์สินของบริษัทและการทำธุรกรรมกับผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับบริษัทในลักษณะที่ไม่สมควร | |
(7) | กำหนดให้มีระเบียบที่ชัดเจนและเหมาะสม มีรายงานทางการเงินที่เป็นมาตรฐาน น่าเชื่อถือและมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม | |
(8) | กำกับดูแลให้มีการตรวจสอบทั้งจากผู้ตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบภายนอกให้มีการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล | |
(9) | กำกับดูแลให้มีการสื่อสารและเปิดเผยสารสนเทศในเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างถูกต้องครบถ้วนเหมาะสมและทันเวลา | |
(10) | กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน | |
(11) | พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกหรือดำเนินการใด ๆ ให้กับ ปตท.สผ. ในเรื่องที่มีผลกระทบกับธุรกิจ ฐานะทางการเงิน หรือชื่อเสียงของกลุ่ม ปตท.สผ. อย่างมีนัยสำคัญ | |
(12) | พิจารณาและอนุมัติ Board Performance Target ของคณะกรรมการ และประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ประธานกรรมการ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง | |
(13) | พิจารณาและอนุมัติ Performance Agreement ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม และประเมินผลการปฏิบัติงานรวมถึงกำหนดค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงาน รวมทั้งกำกับดูแลให้ ปตท.สผ. มีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงด้วย | |
(14) | พิจารณามอบอำนาจอย่างเหมาะสมให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จัดการกิจการของบริษัทให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ ทิศทางการดำเนินงาน เป้าหมาย และนโยบายของบริษัท โดยจัดให้มีการกำกับดูแลที่เหมาะสมและมีการติดตามประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ |
ทั้งนี้ กรรมการ ปตท.สผ. สามารถขอเอกสารข้อมูล คำปรึกษา และบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทจากผู้บริหารรวมทั้งขอความเห็นจากที่ปรึกษาอิสระภายนอก เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม โดย ปตท.สผ. จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
6.5 การประชุม
(1) กำหนดการประชุม
คณะกรรมการ ปตท.สผ. เป็นผู้กำหนดวันประชุมเป็นการล่วงหน้าแต่ละปี เพื่อให้กรรมการสามารถจัดเวลาและเข้าร่วมประชุมได้ โดยปกติ คณะกรรมการ ปตท.สผ. มีการประชุมเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง และมีเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญหรือจำเป็นได้ นอกจากนี้ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการโดยไม่มีฝ่ายจัดการอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และการประชุมคณะกรรมการอิสระอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี เพื่อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งจะช่วยให้คณะกรรมการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และแจ้งให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมทราบถึงผลการประชุมด้วย
(2) ระเบียบวาระการประชุม
ประธานกรรมการร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม และเลขานุการบริษัทกำหนดระเบียบวาระการประชุมตามความจำเป็นของธุรกิจ ซึ่งกรรมการ ปตท.สผ. แต่ละคนสามารถเสนอเรื่องที่สำคัญเพื่อบรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมได้ด้วย
ข้อมูลการประชุมต้องจัดทำอย่างถูกต้องตามรูปแบบที่บริษัทกำหนด มีความครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจ ระบุเนื้อหาของการนำเสนอที่ชัดเจน และจัดส่งให้คณะกรรมการ ปตท.สผ. ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนวันประชุมเสมอ เพื่อให้ศึกษาทำความเข้าใจ และมีความพร้อมสำหรับการประชุม ยกเว้นเรื่องที่ไม่ประสงค์เปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรจะถูกอภิปรายกันในที่ประชุม ทั้งนี้ กรรมการต้องดูแลและใช้ข้อมูลการประชุมอย่างระมัดระวังภายใต้กรอบหน้าที่และความรับผิดชอบเท่านั้น เพื่อไม่ให้ความลับของกลุ่ม ปตท.สผ. รั่วไหล
(3) การมาประชุม องค์ประชุมและการดำเนินการประชุม
กรรมการ ปตท.สผ. ทุกคนต้องมาประชุมทุกครั้ง หากไม่สามารถมาประชุมได้ กรรมการ ปตท.สผ. ต้องส่งหนังสือแจ้งบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร กรรมการ ปตท.สผ. ขาดประชุมเกิน 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรถือว่าขาดคุณสมบัติกรรมการ ปตท.สผ. ทั้งนี้ บริษัทจะรายงานจำนวนครั้งที่มาประชุมของกรรมการ ปตท.สผ. เป็นรายบุคคลไว้ในรายงานประจำปีด้วย
ในการประชุมคณะกรรมการ ปตท.สผ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ทั้งนี้ การลงมติของทุกระเบียบวาระต้องมีกรรมการอยู่ในห้องประชุมครบเป็นองค์ประชุม และต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากของที่ประชุมและมีสิทธิออกเสียง หากมีกรรมการคัดค้านมติใดให้บันทึกคำคัดค้านนั้นไว้ในรายงานการประชุม
ในการดำเนินการประชุม ประธานกรรมการ ปตท.สผ. มีหน้าที่จัดสรรเวลาในการนำเสนอและการอภิปรายซักถาม เปิดโอกาสและสนับสนุนให้กรรมการแต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ประมวลความเห็นและสรุปมติของที่ประชุม ในขณะที่กรรมการแต่ละคนมีหน้าที่และมีอิสระที่จะตั้งคำถาม แสดงข้อคิดเห็น สนับสนุน หรือคัดค้าน โดยยึดถือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ ในกรณีกรรมการมีส่วนได้เสียในระเบียบวาระใด กรรมการต้องดำเนินการ ดังนี้
(1) | แจ้งให้ประธานกรรมการหรือที่ประชุมทราบทันทีที่ทราบว่าตนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้เสียในระเบียบวาระใด ๆ | |
(2) | งดให้ความเห็น งดออกเสียง และออกจากห้องประชุม ในระเบียบวาระนั้น เพื่อให้กรรมการแต่ละคนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ยกเว้นคณะกรรมการโดยไม่รวมกรรมการที่มีส่วนได้เสียคนนั้นมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กรรมการที่มีส่วนได้เสียคนดังกล่าวเข้าร่วมชี้แจงข้อมูลในการประชุมเพื่อความรอบคอบในการพิจารณาตัดสินใจ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงหรือตัดสินใจในระเบียบวาระนั้น | |
(3) | ในการประชุม คณะกรรมการมีอำนาจขอดูหรือตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง และขอให้ฝ่ายจัดการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ |
(4) มติและรายงานการประชุม
มติของที่ประชุมมีผลใช้ปฏิบัติได้ทันที เว้นแต่จะมีมติเป็นอย่างอื่น โดยเลขานุการบริษัทต้องส่งรายงานการประชุมให้กรรมการแต่ละคนพิจารณาความถูกต้องครบถ้วนภายใน 14 วันนับแต่ที่ได้มีการประชุมก่อนที่จะเสนอให้รับรองในการประชุมครั้งต่อไป และให้ประธานในที่ประชุมลงนามในรายงานการประชุมเมื่อมีการรับรองแล้วด้วย โดยรายงานการประชุมมีการบันทึก ข้อคิดเห็น คำถาม และการชี้แจงไว้อย่างชัดเจน ครบถ้วน และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มั่นคง ปลอดภัย สำหรับการใช้อ้างอิงในโอกาสต่อไป
6.6 คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
คณะกรรมการ ปตท.สผ. แต่งตั้งกรรมการ ปตท.สผ. ที่มีความชำนาญที่เหมาะสมเป็นคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ตามที่ข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้ จำนวน 5 คณะ ได้แก่ (1) คณะกรรมการตรวจสอบ (2) คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน (3) คณะกรรมการสรรหา (4) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และ (5) คณะกรรมการบรรษัทภิบาล เพื่อช่วยศึกษาเสนอแนะและกลั่นกรองรายละเอียดของงานในขอบข่ายที่คณะกรรมการเฉพาะเรื่องแต่ละคณะรับผิดชอบ และได้กำหนดคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง และหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องไว้อย่างชัดเจน ในระเบียบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องแต่ละคณะ คณะกรรมการเฉพาะเรื่องต้องรายงานผลการประชุมของแต่ละครั้งต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหรือรับทราบแล้วแต่กรณีอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการทำหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมาต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปีเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็น คณะกรรมการ ปตท.สผ. อาจแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบของ ปตท.สผ. ประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 3 คน โดยเป็นกรรมการอิสระทั้งหมด มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนจะต้องมีประสบการณ์ หรือความรู้ทางด้านการเงิน การบัญชีเพียงพอที่จะสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนของ ปตท.สผ. ประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 3 คน โดยประธานกรรมการและกรรมการส่วนใหญ่ต้องเป็นกรรมการอิสระ มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการสรรหาของ ปตท.สผ. ประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 3 คน โดยประธานกรรมการและกรรมการส่วนใหญ่ต้องเป็นกรรมการอิสระ มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของ ปตท.สผ. ประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 3 คน โดยเป็นกรรมการอิสระ 1 คน มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบรรษัทภิบาล
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลของ ปตท.สผ. ประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 3 คน โดยเป็นกรรมการอิสระทั้งหมด มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการบรรษัทภิบาล
6.7 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง และประธานกรรมการ
ปตท.สผ. ต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี ตาม Board Performance Target และแบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีน้ำหนักในการประเมินเท่ากัน เพื่อใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ และเพื่อพิจารณาทบทวนผลงาน ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งแบบประเมินผลดังกล่าว แบ่งเป็น
(1.1) | การประเมินผลรายบุคคลโดยตนเอง | |
(1.2) | การประเมินผลรายบุคคลโดยกรรมการอื่นแบบไขว้ | |
(1.3) | การประเมินผลคณะกรรมการทั้งคณะ | |
(1.4) | การประเมินผลคณะกรรมการเฉพาะเรื่องทุกคณะ | |
(1.5) | การประเมินผลประธานกรรมการ |
คณะกรรมการ ปตท.สผ. มอบให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้กำหนดแบบประเมินผลดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาเสนอ Board Performance Target ต่อคณะกรรมการ ปตท.สผ. ด้วย โดย ปตท.สผ. จะสรุปผลการประเมินให้คณะกรรมการ ปตท.สผ. รับทราบ และนำผลประเมินผลดังกล่าว ไปแถลงไว้ในรายงานประจำปี รวมทั้งนำข้อเสนอแนะจากการประเมินผลมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
(2) การประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
คณะกรรมการ ปตท.สผ. กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมทุกปี โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ตามแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการสรรหากำหนดโดยใช้ Performance Agreement ที่วัดจากดัชนีวัดผลการดำเนินงานของ ปตท.สผ. ปีนั้น ๆ เพื่อให้มีระบบการถ่วงดุล (Check and Balance) และสามารถตรวจสอบติดตามการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมตามเป้าหมายที่วางไว้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
6.8 ค่าตอบแทนกรรมการ และการกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง
ค่าตอบแทนกรรมการ
คณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะเรื่องของ ปตท.สผ. ได้รับค่าตอบแทนซึ่งประกอบด้วย ค่าตอบแทนรายเดือน ค่าเบี้ยประชุม และโบนัส ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนทำหน้าที่พิจารณาทบทวนโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท.สผ. ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง แนวปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียนในอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมทั้งขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีการเปิดเผยจำนวนเงินที่กรรมการได้รับเป็นรายบุคคลในรายงานประจำปี สำหรับกรรมการที่มีฐานะเป็นฝ่ายจัดการ ได้แก่ ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดลงมาที่ทำหน้าที่ในคณะกรรมการเฉพาะเรื่องจะไม่ได้รับค่าตอบแทน
การกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนจะกำหนดหลักเกณฑ์ หรือวิธีการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูงของ ปตท.สผ. ซึ่งเทียบเคียงจากหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตราการจ่ายและผลการสำรวจค่าตอบแทนของบริษัทชั้นนำ ซึ่งอยู่ในธุรกิจ/อุตสาหกรรมปิโตรเลียม โดยเปรียบเทียบจากหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนกำหนดรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนที่จูงใจและสะท้อนถึงผลการปฏิบัติงานทั้งในระยะสั้นระยะยาว
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดอัตราค่าตอบแทนรายบุคคล ในการปรับเงินเดือนประจำปีของผู้บริหารระดับสูง โดยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานรายบุคคล และผลการดำเนินงานของ ปตท.สผ. นอกจากนี้ ยังพิจารณาประกอบกับผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าของแต่ละหน่วยงานด้วย
ปตท.สผ. ได้เปิดเผยค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงโดยรวมเป็นประจำไว้ในรายงานประจำปี นอกจากนี้ ได้เปิดเผยการถือหลักทรัพย์ฯ เป็นรายบุคคล เพื่อความโปร่งใส และเป็นการเสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีของกลุ่ม ปตท.สผ. ด้วย
6.9 การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการ
(1) การปฐมนิเทศกรรมการบริษัทใหม่
(1.1) | การรับฟังการบรรยายสรุปโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมกับผู้บริหารระดับสูงของ ปตท.สผ. เกี่ยวกับลักษณะธุรกิจและแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท ความรู้และเทคนิคเกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. และข้อมูลที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่างมีประสิทธิภาพ | |
(1.2) | การได้รับคู่มือกรรมการของ ปตท.สผ. ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ เช่น แผนกลยุทธ์ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. เป็นต้น เพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและมีการปรับปรุงคู่มือกรรมการ ปตท.สผ. ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัท | |
(1.3) | การไปเยี่ยมชมสถานที่ปฏิบัติการจริงของกลุ่ม ปตท.สผ. ตามความเหมาะสมเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธุรกิจและเป็นประโยชน์ในการทำงานของกรรมการบริษัท |
นอกจากนี้ กรรมการ ปตท.สผ. ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการจะได้รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับการทำหน้าที่ประธานกรรมการอย่างมีประสิทธิภาพ และวิธีการดำเนินการประชุมคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมด้วย
(2) การฝึกอบรม
ปตท.สผ. ประสงค์ให้กรรมการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในหน้าที่กรรมการและธุรกิจอยู่เสมอ จึงส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้กรรมการทุกคนมีโอกาสได้รับการอบรมเพิ่มเติมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ โดย ปตท.สผ. เป็นผู้รับค่าใช้จ่าย และให้มีการบรรยายหรือการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของกรรมการเป็นประจำเพื่อเป็นการพัฒนากรรมการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของกรรมการตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดีตามการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้กับกรรมการอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจด้วย
(3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
คณะกรรมการต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี ตาม Board Performance Target และแบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีน้ำหนักในการประเมินเท่ากัน เพื่อใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ และเพื่อพิจารณาทบทวนผลงาน ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา
คณะกรรมการมอบให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้กำหนดแบบประเมินผลดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาเสนอ Board Performance Target ต่อคณะกรรมการด้วย โดย ปตท.สผ. จะสรุปผลการประเมินให้คณะกรรมการรับทราบ และนำผลประเมินผลดังกล่าว ไปแถลงไว้ในรายงานประจำปี รวมทั้งนำข้อเสนอแนะจากการประเมินผลมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
(4) การคุ้มครองการปฏิบัติงาน
ปตท.สผ. จัดให้มีความคุ้มครองการปฏิบัติงานให้แก่กรรมการที่ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบหรือหน้าที่ที่พึงกระทำโดยต้องไม่เป็นการฉ้อฉลหรือทุจริตหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งความคุ้มครองนี้จะครอบคลุมการฟ้องร้องในทางคดีทุกประเภททั้งในประเทศ และต่างประเทศจนตลอดอายุความของเรื่องที่มีการฟ้องร้องหรือกล่าวโทษ
(5) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและผู้บริหารระดับสูง และสิทธิในการว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอก
คณะกรรมการ ปตท.สผ. มีสิทธิในการเรียกให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าพบเพื่อให้ชี้แจง ให้รายละเอียด หรือรายงานเพิ่มเติม และมีสิทธิในการแต่งตั้งที่ปรึกษาภายนอกเพื่อให้ข้อมูลหรือความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการเมื่อเห็นว่าความเห็นของที่ปรึกษาภายนอกมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ปตท.สผ. เป็นผู้รับผิดชอบ
6.10 จรรยาบรรณกรรมการ
นอกเหนือไปจากการเป็นผู้นำในการปฏิบัติตามการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. แล้ว ปตท.สผ. มุ่งหวังให้กรรมการดำเนินงานภายใต้กรอบจริยธรรมที่สูงสุดและต้องดำรงตนหรือปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวังและรอบคอบเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย โดยจัดให้มีจรรยาบรรณกรรมการดังนี้
1) | ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ข้อบังคับของ ปตท.สผ. มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. และจรรยาบรรณกรรมการ | |||
2) | บริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทั้งในปัจจุบันและอนาคตตลอดจนรักษาภาพลักษณ์ของกลุ่ม ปตท.สผ. | |||
3) | บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยไม่ฝักใฝ่การเมืองหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมือง และจะวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด | |||
4) | ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการที่ดำเนินธุรกิจกับกลุ่ม ปตท.สผ. หรือในกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกลุ่ม ปตท.สผ. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม | |||
5) | พึงบริหารงานโดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตนต่อผลประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใสเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ผลประโยชน์ข้างต้นรวมถึง | |||
5.1) | ไม่หาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการเป็นกรรมการ | |||
5.2) | ไม่ใช้ความลับของบริษัทในทางที่ผิดและเมื่อพ้นตำแหน่งไปแล้วก็ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นความลับของกลุ่ม ปตท.สผ. ด้วย | |||
5.3) | ไม่เป็นกรรมการในบริษัทที่เป็นคู่แข่งขันของกลุ่ม ปตท.สผ. | |||
5.4) | ไม่มีผลประโยชน์ในการทำสัญญาของกลุ่ม ปตท.สผ. | |||
5.5) | ไม่รับของขวัญ ของที่ระลึก รับเลี้ยง หรือประโยชน์อื่นใด กรณีที่ไม่สามารถปฏิเสธได้และไม่สามารถส่งคืนได้ ให้จัดทำรายงานตามที่บริษัทกำหนดไว้ในจริยธรรมธุรกิจ | |||
5.6) | บริหารงานด้วยความระมัดระวังและไม่สร้างข้อผูกมัดที่อาจขัดแย้งกับหน้าที่ของตนในภายหลัง | |||
5.7) | ไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบจากการทำงานไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม | |||
5.8) | ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่ม ปตท.สผ. รวมถึงในการประชุมคณะกรรมการ | |||
5.9) | ไม่เป็นผู้ประกอบการหรือเป็นผู้ถือหุ้นสำคัญหรือมีบุคคลในครอบครัวเป็นกรรมการหรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหรือธุรกิจการค้าใดอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันหรือทำธุรกิจกับ ปตท.สผ. ไม่ว่ากระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น | |||
5.10) | ไม่กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ ใน ปตท.สผ.ในลักษณะที่มีผลบั่นทอนผลประโยชน์ของบริษัทหรือเอื้อประโยชน์ให้บุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่น |
6.11 เลขานุการบริษัท
เลขานุการบริษัทมีบทบาทที่สำคัญในการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภายใน ได้แก่ ระหว่างประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือฝ่ายจัดการ และภายนอก ได้แก่ ระหว่าง ปตท.สผ. ผู้ถือหุ้น และหน่วยงานกำกับดูแล เลขานุการบริษัทแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ และปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการด้วย โดยรับผิดชอบในการให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับกฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่บริษัทต้องปฏิบัติตาม รวมถึงให้ข้อมูลสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดูแลให้การดำเนินกิจการของคณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. รับผิดชอบในการจัดประชุมคณะกรรมการ การประชุมคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง และการประชุมผู้ถือหุ้น จัดทำและจัดเก็บเอกสารสำคัญของกลุ่ม ปตท.สผ. เช่น ระเบียบวาระและรายงานการประชุมคณะกรรมการ/การประชุมผู้ถือหุ้น แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี รายงานประจำปี ทะเบียนกรรมการ เป็นต้น รวมทั้งการแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อหน่วยงานกำกับดูแล การจัดปฐมนิเทศกรรมการใหม่ และการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. ให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
ส่วนที่ 3 จริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ.
กลุ่ม ปตท.สผ. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เคารพ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีในทุกพื้นที่ที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.1 | ศึกษา ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. ในแต่ละพื้นที่ที่ตนปฏิบัติงาน | |
1.2 | ศึกษา ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือหนังสือสั่งการของกลุ่ม ปตท.สผ. ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ | |
1.3 | ศึกษา ทำความเข้าใจ และปฏิบัติงานภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามคู่มือการมอบอำนาจ | |
1.4 | ไม่ให้การช่วยเหลือหรือสนับสนุนบุคคลใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยง หรือฝ่าฝืนการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือหนังสือสั่งการ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. | |
1.5 | ในกรณีมีกิจการใด ๆ ที่ให้บุคคลภายนอกดำเนินการแทนกลุ่ม ปตท.สผ. หรือการเข้าเป็นคู่สัญญากับบุคคลใด ๆ ในนามกลุ่ม ปตท.สผ. ต้องตรวจสอบประวัติการกระทำผิดกฎหมายของบุคคลนั้นอย่างรอบคอบ และแจ้งบุคคลดังกล่าวให้ยึดถือปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัดด้วย รวมทั้งสอดส่องดูแลไม่ให้ดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย | |
1.6 | เมื่อพบว่า ระเบียบ ข้อกำหนด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือหนังสือสั่งการของกลุ่ม ปตท.สผ. แตกต่างจากที่บังคับใช้ในพื้นที่นั้น ๆ ให้ปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการใด ๆ | |
1.7 | เมื่อพบเห็นการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือช่องทางรับเรื่องร้องเรียนตาม "ระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง" และในกรณีที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อกลุ่ม ปตท.สผ. อย่างมีนัยสำคัญก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาโดยทันที |
2. การเคารพวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
2.1 | ศึกษา และทำความเข้าใจวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละพื้นที่ที่ตนปฏิบัติงาน | |
2.2 | เคารพความแตกต่างของวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น โดยไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น ๆ |
3. การดำเนินการในกรณีมีข้อสงสัย
3.1 กรณีที่มีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีให้รีบปรึกษาผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการใด ๆ
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. หากท่านพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่า จะเป็นการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของบริษัท แต่ท่านไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นชัดเจนว่า เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนั้น ท่านจะดำเนินการอย่างไร
คำแนะนำ ทุกคนมีหน้าที่ที่จะช่วยกันสอดส่องดูแลให้กลุ่ม ปตท.สผ. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การแจ้งเรื่องร้องเรียนจะต้องมั่นใจว่าท่านมีข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วน เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม แต่ท่านไม่จำเป็นต้องสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงด้วยตนเองเพื่อความปลอดภัยของท่าน
ในกรณีนี้ท่านควรปรึกษาผู้บังคับบัญชาที่ท่านวางใจ หรือสอบถามหน่วยงานที่รับผิดชอบระเบียบนั้น ๆ ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า การกระทำดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทหรือไม่ หลังจากนั้นจึงพิจารณาว่าจะร้องเรียนหรือไม่ ทั้งนี้ ท่านจะได้รับการคุ้มครองตามที่กำหนดไว้ในระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง
2. ท่านได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ท่านไม่คุ้นเคยกับกฎหมาย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่นนั้นในต่างประเทศ และท่านสงสัยว่าวิธีการดำเนินงานในประเทศนั้นแตกต่างจากที่ท่านเคยปฏิบัติ แต่วิธีการดำเนินงานนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด หากท่านเป็นผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการนั้น ท่านจะดำเนินการอย่างไร
คำแนะนำ การปฏิบัติงานในต่างประเทศมักมีความซับซ้อนในหลายด้าน ซึ่งอาจเกิดจากความแตกต่างของกฎหมาย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นนั้น การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการใด ๆ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของตน อย่างไรก็ตามจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยต้องปรึกษาหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่องที่เกี่ยวข้องก่อนเสมอ เพื่อหาแนวทางที่เป็นมาตรฐานที่ดีที่สุด และมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละภารกิจ โดยจะต้องเคารพกฎหมาย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นอันดีงามในพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจด้วย
3. หากท่านต้องไปปฏิบัติงานที่ต่างประเทศ ควรมีการเตรียมตัวอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจขัดต่อวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
คำแนะนำ ท่านควรศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ โดยกลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคลและบริการธุรกิจ จะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องรวมถึงเรื่องวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นในแต่ละประเทศที่พนักงานต้องเดินทางไปปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดให้มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ที่ ปตท.สผ. มีการลงทุนอยู่ด้วย นอกจากนี้ ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของสถานทูตประเทศนั้น ๆ หรือกระทรวงการต่างประเทศได้
4. ท่านได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศที่ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างแตกต่างกับประเทศของท่าน ท่านสงสัยว่า ท่านจะต้องเข้าร่วมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นหรือไม่
คำแนะนำ ท่านจะต้องเคารพและไม่กระทำการใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการลบหลู่ หรือไม่ให้เกียรติต่อขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างไรก็ดี ในกรณีนี้หากท่านถูกเชื้อเชิญให้ปฏิบัติหรือยึดถือในแนวทางที่ขัดกับขนบธรรมเนียมประเพณีที่ท่านถือปฏิบัติ ขอให้อธิบายถึงข้อจำกัดของท่าน และปฏิเสธอย่างสุภาพที่สุดเท่าที่ทำได้้
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
1. | ท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายในประเทศต่าง ๆ ที่กลุ่ม ปตท.สผ. ดำเนินธุรกิจ ได้ที่หน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์์ | |
2. | ท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ เช่น ระเบียบบริษัทว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคล สอบถามได้ที่กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริการธุรกิจ เป็นต้น | |
3. | ท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับอำนาจในการพิจารณาอนุมัติเรื่องต่าง ๆ และขั้นตอนการเสนอขออนุมัติตามคู่มือการมอบอำนาจ ได้ที่หน่วยงานพัฒนาองค์กร | |
4. | ท่านพึงตระหนักอยู่เสมอว่ากฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรติดตามและทบทวนในเรื่องนี้อยู่เสมอ |
หลักการ
กลุ่ม ปตท.สผ. เป็นกลางทางการเมือง ไม่กระทำการอันเป็นการฝักใฝ่ ช่วยเหลือหรือสนับสนุนพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด หรือนักการเมืองผู้หนึ่งผู้ใดในทุกพื้นที่ ทุกภูมิภาค และในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ อย่างไรก็ดี กลุ่ม ปตท.สผ. ตระหนักและให้ความเคารพในสิทธิเสรีภาพในการใช้สิทธิทางการเมืองของกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ตามที่รัฐธรรมนูญ หรือที่กำหนดโดยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรือการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ทั้งนี้ การให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกับภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรวมถึงผู้ที่ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการตามระบอบการปกครอง เช่น รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลสถิตยุติธรรม ภายใต้ความชอบด้วยกฎหมาย หรือสัญญา ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นการฝักใฝ่ ช่วยเหลือหรือสนับสนุนพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด หรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีอำนาจทางการเมือง
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | การใช้สิทธิทางการเมืองที่พึงมีตามกฎหมาย ต้องการกระทำในนามตนเอง และระมัดระวังไม่ให้ผู้อื่นเข้าใจผิดได้ว่าเป็นการกระทำในนามกลุ่ม ปตท.สผ. | |
2. | เมื่อต้องแสดงออกในนามกลุ่ม ปตท.สผ. ต้อง ไม่เข้าไปมีส่วนร่วม และแสดงอาการหรือลักษณะให้เห็นได้ว่าเป็นการฝักใฝ่พรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด หรือนักการเมืองผู้หนึ่งผู้ใดไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ | |
3. | ไม่นำทรัพยากรของกลุ่ม ปตท.สผ. เช่น เงินทุน บุคลากร สถานที่ ไปใช้สนับสนุน พรรคการเมืองหรือนักการเมืองใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ และไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม | |
4. | ไม่ใช้ตำแหน่งในกลุ่ม ปตท.สผ. หรือตราสัญลักษณ์ของ กลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อชักจูงผู้อื่นให้จ่ายเงินอุดหนุน หรือให้การสนับสนุนใด ๆ แก่พรรคการเมือง หรือนักการเมือง | |
5. | ไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองในสถานที่ทำงานหรือในเวลางานในเรื่องที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด หรือเกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคีในการทำงาน | |
6. | ไม่หาเสียง หรือโฆษณาให้พรรคการเมืองหรือนักการเมืองใด ๆ ในพื้นที่ของกลุ่ม ปตท.สผ. รวมทั้งไม่สนับสนุนให้มีการดำเนินการเช่นว่านั้น |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งทางการเมืองได้หรือไม่
คำแนะนำ โดยหลักการท่านสามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้ในนามส่วนตัว รวมถึงการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ แต่ต้องไม่ใช้เวลางาน เงินทุน หรือทรัพยากรของกลุ่ม ปตท.สผ. ไปเพื่อการนั้น
2. ท่านจะวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพรรคการเมืองในที่ทำงานได้หรือไม่
คำแนะนำ กลุ่ม ปตท.สผ. เคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของท่าน อย่างไรก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางความคิดที่อาจเกิดขึ้น และการแบ่งฝ่าย อันจะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการทำงาน จึงไม่ควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองในสถานที่ทำงาน หรือในเวลางาน
3. บุคคลภายนอกนำใบโฆษณาหาเสียงของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแจกให้กับเพื่อนพนักงาน ท่านจะรับใบโฆษณานั้นได้หรือไม่
คำแนะนำ ท่านสามารถรับได้ แต่เมื่อได้รับมาแล้วจะต้องไม่นำไปแจกจ่ายต่อให้กับบุคคลอื่นภายในบริเวณพื้นที่ของบริษัท หรือจงใจวางไว้ในที่เปิดเผยในพื้นที่ของบริษัท
4. ท่านจะมีวิธีการพิจารณาอย่างไรว่าการกระทำในลักษณะใด เป็นการให้การสนับสนุนทางอ้อมแก่พรรคการเมือง หรือผู้มีอำนาจทางการเมืองที่เข้าข่ายฝักใฝ่พรรคการเมือง หรือนักการเมืองผู้หนึ่งผู้ใด
คำแนะนำ ท่านสามารถแยกแยะได้โดยพิจารณาจากเจตนาและความชัดเจนของพฤติกรรม เช่น (1) สวมเสื้อที่มีการสกรีนลายหรือสัญลักษณ์พรรคการเมืองหรือนักการเมือง มาปฏิบัติงาน (2) วางแผ่นพับโฆษณาหาเสียงไว้ในที่ทำงานในลักษณะเปิดเผยที่ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้โดยง่าย (3) การเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยแต่งกายในลักษณะที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นกลุ่ม ปตท.สผ. (4) การพูดถึงคุณงามความดีหรือกล่าวโจมตีนักการเมือง หรือพรรคการเมืองให้กับผู้อื่นฟังในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งในที่ทำงาน เป็นต้น โดยการกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะหากมีการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาจะถือว่าไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ.
5. หากพนักงานมีญาติ หรือเพื่อนสนิทเป็นนักการเมืองต้องทำอย่างไร
คำแนะนำ ปตท.สผ. เข้าใจว่าคนทั่วไปมักมีความรู้สึกที่ดีกับญาติ หรือเพื่อนสนิท และมักจะพูดถึงในเชิงส่งเสริมและสนับสนุน อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในเวลางาน หรือในพื้นที่ปฏิบัติงานของกลุ่ม ปตท.สผ. จะต้องมีความระมัดระวังเพิ่มขึ้นเมื่อมีการพูดถึงบุคคลเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการเลือกตั้ง
6. พนักงานสามารถประกอบธุรกิจ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนร่วมกับนักการเมืองได้หรือไม่
คำแนะนำ ท่านสามารถทำได้ในนามส่วนตัว และต้องไม่นำกลุ่ม ปตท.สผ. เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น และในกรณีที่ธุรกิจนั้นมีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม ปตท.สผ. จะต้องศึกษาและปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจในเรื่อง "ความขัดแย้งทางผลประโยชน์" อย่างเคร่งครัด
7. ท่านจะดำเนินการเช่นใด หากหน่วยงานของรัฐมีหนังสือตามความสมัครใจขอสนับสนุนงบประมาณและขอใช้พื้นที่ของบริษัทสำหรับการจัดเลี้ยงปีใหม่
คำแนะนำ ท่านต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นคำขอที่ชอบด้วยกฎหมายหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนหรือไม่ มีลักษณะเป็นการคอร์รัปชั่น หรือมีลักษณะเป็นการตอบแทนหรือจูงใจให้หน่วยงานของรัฐนั้นดำเนินการหรือไม่ดำเนินการใด ที่จะทำให้บริษัทได้เปรียบหรือรับประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดหรือไม่ หากมีอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวข้างต้น ก็ไม่สามารถให้ได้ แต่หากไม่เข้าลักษณะดังกล่าวก็สามารถให้ได้ แต่ต้องพิจารณาถึงระดับหรือจำนวนที่จะให้การสนับสนุนที่เหมาะสมโดยให้คำนึงถึงงบประมาณที่มีอยู่ตามปกติ และดำเนินการให้ถูกต้องตามอำนาจอนุมัติ ตลอดจนจัดเก็บและบันทึกรายการธุรกรรมอย่างถูกต้องและชัดเจน
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
1. | การปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมธุรกิจเรื่อง "การใช้และการรักษาข้อมูลและทรัพย์สิน" "ความขัดแย้งทางผลประโยชน์" "การต่อต้านคอร์รัปชั่น" และ "การจัดหาและสัญญา" จึงต้องศึกษาจริยธรรมธุรกิจในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย | |
2. | ท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับการกระทำในลักษณะใดที่เข้าข่าย "ไม่เป็นกลางทางการเมือง" หรือขอคำแนะนำที่ถูกต้องในกรณีที่จะต้องเข้าไปข้องเกี่ยวกับพรรคการเมืองหรือนักการเมือง ได้ที่ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานเลขานุการบริษัท |
กลุ่ม ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับคุณค่าทรัพยากรบุคคล โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม มีพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ร่วมกันระหว่างบุคลากรกับกลุ่ม ปตท.สผ. เป็นหลัก รวมทั้งเปิดโอกาสให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานเข้าร่วมกิจกรรมภายนอก ภายใต้ขอบเขตนโยบายที่เกี่ยวข้องของกลุ่ม ปตท.สผ.
กลุ่ม ปตท.สผ. ยึดถือปฏิบัติตามหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและแรงงานขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ซึ่งรวมถึงการไม่ใช้แรงงานเด็กโดยการบังคับ ตลอดจนข้อจำกัดของกฎหมายแรงงานในแต่ละประเทศที่กลุ่ม ปตท.สผ. เข้าดำเนินธุรกิจโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ถูกสุขอนามัยตามมาตรฐานสากล ปลอดจากยาเสพติด และปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนโดยเสมอภาคกัน ไม่แบ่งแยกถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ เพศ อายุ สีผิว ศาสนา ความพิการ หรือสถานะอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน รวมถึงจัดให้มีสภาพการจ้างงานที่ยุติธรรม มีโอกาสก้าวหน้าอย่างเป็นธรรม และดูแลไม่ให้เกิดการคุกคามหรือข่มขู่ หรือถูกล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ระหว่างผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม ปตท.สผ.
กลุ่ม ปตท.สผ. เคารพและตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวของกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน อย่างไรก็ตาม กลุ่ม ปตท.สผ. สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของกลุ่ม ปตท.สผ. ซึ่งรวมถึง คอมพิวเตอร์ อีเมล โทรศัพท์ ข้อมูลอันเป็นกรรมสิทธิ์ของกลุ่ม ปตท.สผ. โดยจะปฏิบัติภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
1. | ไม่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่มีสุขอนามัยในการทำงาน หรือสถานที่ทำงาน และในกรณีพบเห็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย หรือไม่มีสุขอนามัย ให้รายงานผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลจัดการให้ดำเนินการแก้ไขโดยทันทีี | |
2. | ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อแสวงหาตำแหน่งหรือผลประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต | |
3. | ไม่กระทำหรือชักจูงผู้ร่วมงานผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใช้เวลาปฏิบัติงานเพื่อกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. | |
4. | ต้องดูแลเอาใจใส่และพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาโดยการถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนให้ได้รับการอบรมตามเหมาะสม รวมถึงการพิจารณาความดีความชอบ และการลงโทษตามที่กำหนดไว้้ | |
5. | ให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบภายใน โดยให้ข้อมูล เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบ รวมถึงไม่ปกปิด บิดเบือน ปลอมแปลงเอกสาร หรือแทรกแซงในขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบ | |
6. | รับฟังคำแนะนำของผู้บังคับบัญชา และไม่ปฏิบัติงานข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่กรณีที่จำเป็นและเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่า ซึ่งต้องเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง | |
7. | ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่กลุ่ม ปตท.สผ. จัดขึ้น ตามที่ตนเห็นสมควร | |
8. | ไม่เรียกร้องเรี่ยไรต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ยกเว้นกิจกรรมเพื่อการกุศลสาธารณะโดยต้องไม่มากเกินจำเป็นและขัดขวางสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ผู้อื่น | |
9. | แต่งกายให้สุภาพเหมาะสมกับหน้าที่การงานและภาพลักษณ์ของบริษัท รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีี | |
10. | ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของกลุ่ม ปตท.สผ. |
ความเป็นส่วนตัว การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และการไม่ข่มขู่คุกคาม
1. | ไม่นำเอาข้อมูลหรือเรื่องราวของบุคคลอื่น ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานและเรื่องส่วนตัวไปเปิดเผย หรือวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้นั้น หรือภาพลักษณ์โดยรวมของกลุ่ม ปตท.สผ. เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด | |
2. | ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวตัดสิน หรือเนื่องจากความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ เพศ รวมถึงการตั้งครรภ์ และความโน้มเอียงทางเพศ อายุ สีผิว ศาสนา ความคิดเห็นส่วนบุคคล ความพิการ หรือเรื่องอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน | |
3. | ไม่แสดงพฤติกรรมที่เป็นการข่มขู่ หรือพฤติกรรมที่มีลักษณะก้าวร้าวรุนแรง หรือสร้างความอับอายขายหน้า หรือสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้อื่น หรือก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่บั่นทอนกำลังใจ เป็นปฏิปักษ์ หรือรบกวนการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ พฤติกรรมดังกล่าวครอบคลุมถึงการลวนลาม อนาจาร การเกี้ยวพาราสี หรือการล่วงเกินทางเพศไม่ว่าจะด้วยวาจา หรือร่างกายก็ตาม รวมทั้งการกระทำอื่นใดที่เป็นการล่วงละเมิดผู้อื่นตามกฎหมาย |
ยาเสพติด สารเสพติด และแอลกอฮอล์ (คำจำกัดความให้เป็นไปตามกฎหมายในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติงาน)
1. | ไม่ครอบครอง ใช้ ให้หรือรับ ซื้อหรือขาย ยาเสพติด สารเสพติด และแอลกอฮอล์ขณะปฏิบัติงาน หรือในพื้นที่ปฏิบัติงาน เว้นแต่มีความจำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจำเป็นต้องใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว และในกรณีปฏิบัติงานที่มีสภาพอันตรายจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และผู้บังคับบัญชาด้วย | |
2. | ให้ความร่วมมือในการสุ่มตรวจการใช้ยาเสพติด สารเสพติด และแอลกอฮอล์ในขณะปฏิบัติงาน หรือในพื้นที่ปฏิบัติงาน |
การทำงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมภายนอกของผู้บริหาร และพนักงาน
การทำงาน บรรยาย สอน ฝึกอบรม ออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ร่วมกิจกรรมใด ๆ หรือรับตำแหน่งที่ใด ๆ ในองค์กรหรือหน่วยงานภายนอก ต้องดำเนินการ ดังนี้
1. | หากมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับกลุ่ม ปตท.สผ. ไม่สามารถทำได้ (ตัวอย่างลักษณะของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในจริยธรรมธุรกิจ เรื่อง "ความขัดแย้งทางผลประโยชน์") | |
2. | หากไปในฐานะตัวแทนของกลุ่ม ปตท.สผ. และ/หรือ ใช้ข้อมูลภายในของกลุ่ม ปตท.สผ. และ/หรือ ใช้เวลางานของกลุ่ม ปตท.สผ. ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติก่อน กรณีมีค่าตอบแทนจากการทำงานหรือเข้าร่วมกิจกรรมภายนอกดังกล่าว ให้ค่าตอบแทนที่ได้รับเป็นของกลุ่ม ปตท.สผ. เฉพาะกรณีที่ไปในฐานะตัวแทนกลุ่ม ปตท.สผ. และ/หรือใช้เวลางานของกลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อการนั้น | |
3. | หากได้รับมอบหมายให้ไปเป็นกรรมการ คณะจัดการ ผู้บริหาร หรือเลขานุการในองค์กร คณะใด ๆ หรือบริษัทในกลุ่ม ปตท.สผ. ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมหรือที่เกี่ยวข้องโดยตรง การรับค่าตอบแทนให้เป็นไปตามแนวทางที่ ปตท.สผ. กำหนด กรณีที่ได้รับตำแหน่งดังข้างต้นในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมหรือที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สามารถรับค่าตอบแทนจากการนั้นได้ |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. ท่านพบว่าเพื่อนร่วมงานทำงานหารายได้พิเศษโดยขายสินค้าของบริษัทขายตรงแห่งหนึ่ง และใช้เวลางานรวมทั้งโทรศัพท์และอีเมลของ ปตท.สผ. เพื่อการขายสินค้าดังกล่าว และท่านเป็นคนหนึ่งซึ่งถูกชักชวนให้ซื้อสินค้าด้วย ท่านจะปฏิบัติเช่นไร
คำแนะนำ ท่านควรตักเตือนเพื่อนร่วมงานของท่าน หรือรายงานต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อมิให้เพื่อนร่วมงานของท่านใช้เวลาในการปฏิบัติงานไปทำงานอย่างอื่น หรือใช้ทรัพย์สินของกลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อประโยชน์ส่วนตน
2. เพื่อนร่วมงานของท่านประสบอุบัติเหตุและต้องใช้เงินจำนวนมากในการรักษาพยาบาล และท่านต้องการช่วยเหลือเพื่อนคนนี้ด้วยการส่งอีเมล และแจกแผ่นพับชี้แจงข้อเท็จจริงให้กับพนักงานทุกคนในบริษัทเพื่อขอเรี่ยไรเงินเป็นค่ารักษาพยาบาล ได้หรือไม่
คำแนะนำ โดยหลักการท่านต้องไม่เรียกร้องเรี่ยไรต่างๆ ยกเว้นกิจกรรมเพื่อการกุศลและสาธารณะ และต้องไม่เกิดผลเสียกับการปฏิบัติงาน ในกรณีนี้ เมื่อคิดถึงหลักมนุษยธรรมแล้วเป็นเรื่องที่สมควรทำ แต่ขอบเขตในการดำเนินการควรทำอย่างจำกัดเฉพาะบุคคลที่รู้จักเท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ผู้อื่น และต้องมั่นใจว่าไม่ทำให้งานในรับผิดชอบของตนเองเสียหาย
3. ท่านต้องการซื้อสินค้าหรือบริการสำหรับประโยชน์ส่วนตัวจากหน่วยงานภายนอก โดยใช้ชื่อ ปตท.สผ. เพื่อขอเครดิตหรือบริการอื่น ๆ ได้หรือไม่
คำแนะนำ ท่านไม่สามารถใช้ชื่อของกลุ่ม ปตท.สผ. ในการทำธุรกรรมใด ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม ปตท.สผ. ไม่ว่าในกรณีใด ๆ เพราะการกระทำเช่นนั้นอาจทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อได้ว่าเป็นการทำธุรกรรมกับกลุ่ม ปตท.สผ. และอาจเกิดความเสียหายกับกลุ่ม ปตท.สผ. ได้
4. บุคคลภายนอกที่ท่านรู้จักได้ติดต่อท่านเพื่อขอข้อมูลชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของพนักงานในหน่วยงานของท่านโดยแจ้งว่าต้องการจะนำไปใช้ในการติดต่อ เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต การให้กู้ยืมเงิน ท่านจะปฏิบัติเช่นไร
คำแนะนำ ถึงแม้ว่าข้อมูลชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ จะเป็นข้อมูลซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปในหน่วยงาน ยังคงถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนเปิดเผย เว้นแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ดังนั้น ในกรณีนี้ท่านต้องไม่ให้ข้อมูลแก่บุคคลภายนอก
5. ท่านเป็นผู้มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน แต่มีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องต้องการจะทราบข้อมูลดังกล่าว เช่น เงินเดือนหรือข้อมูลผลการตรวจสุขภาพของพนักงาน ท่านจะปฏิบัติเช่นไร
คำแนะนำ ข้อมูลเงินเดือนหรือข้อมูลผลการตรวจสุขภาพถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลหรือผู้เกี่ยวข้อง จะใช้ข้อมูลดังกล่าวตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยไม่นำข้อมูลไปใช้อย่างไม่เหมาะสมหรือเป็นผลเสียต่อเจ้าของข้อมูล
6. การข่มขู่คุกคาม (Harassment) ในลักษณะใด หรือขอบเขตมากน้อยเพียงไรที่ถือว่าขัดกับตัวอย่างแนวปฏิบัติในเรื่องนี้
คำแนะนำ การข่มขู่คุกคาม (Harassment) อาจกระทำทางกายหรือวาจาโดยแสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นด้วยการแสดงกิริยาท่าทางเป็นเชิงข่มขู่ คุกคาม ดูถูกว่าด้อยกว่าหรือต่ำกว่า เช่น การล้อเลียนเกี่ยวกับความแตกต่างทางกายหรือจิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ อายุ การศึกษา หรือเรื่องอื่นใดที่อาจกระทบต่อความรู้สึก การใส่ร้ายป้ายสี เช่น การบิดเบือนหรือใส่ความทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง การแสดงอำนาจด้วยกิริยาหรือวาจาทำให้หวาดกลัว เช่น การข่มขู่ การทำร้ายร่างกาย ขู่จะทำร้ายร่างกาย ซึ่งการกระทำที่จะขัดกับตัวอย่างแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ พิจารณาความรู้สึกของผู้ที่ถูกกระทำที่เป็นบุคคลปกติธรรมดานั้น มีความรู้สึกด้านลบจากการที่ถูกกระทำนั้นหรือไม่ เช่น รู้สึกกลัว เสียใจ ด้อยค่า เศร้า หรือโกรธ เป็นต้น
7. ท่านจะต้องออกไปปฏิบัติงานกลางแดด ในพื้นที่ที่อากาศร้อนอบอ้าวชั่วระยะเวลาหนึ่ง ท่านจะสามารถแต่งตัวลำลองเสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ เข้าปฏิบัติงานได้หรือไม่่
คำแนะนำ โดยหลักการกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องแต่งกายให้สุภาพเหมาะสมกับหน้าที่การงานและภาพลักษณ์ของกลุ่ม ปตท.สผ. รวมถึงเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งตามปกติการปฏิบัติงานของกลุ่ม ปตท.สผ. จะกำหนดเงื่อนไขการแต่งกายเพื่อความปลอดภัย การสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานไว้อยู่แล้วก็ให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในกรณีนี้ถือว่าเป็นการเกินสมควร และไม่อยู่ในวิสัยที่คนทั่วไปปฏิบัติิ
8. ใครเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ หรือมอบหมายให้พนักงานไปรับตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ในองค์กรหรือหน่วยงานภายนอก
คำแนะนำ โดยหลักการแล้วกรณีนี้ถือการไปปฏิบัติหน้าที่ในนามของกลุ่ม ปตท.สผ. ถือว่าเป็นการทำงานให้กับกลุ่ม ปตท.สผ. ซึ่งผู้บริหาร หรือพนักงานจะได้รับการชี้แจงรายละเอียดจากผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารระดับสูง (แล้วแต่กรณี) ล่วงหน้าตามสมควร เพื่อเตรียมตัวตามเหมาะสม
9. ท่านมีโรคประจำตัว และต้องรับประทานยาเป็นประจำ โดยยาตัวหนึ่งมีส่วนผสมของ สารเสพติดบางตัวในปริมาณเพียงเล็กน้อย ในกรณีนี้ท่านยังจำเป็นจะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และผู้บังคับบัญชาหรือไม่
คำแนะนำ แม้ตัวยาจะมีส่วนผสมของสารเสพติดเพียงเล็กน้อย แต่เพื่อความปลอดภัยของท่านในการปฏิบัติงาน ท่านมีหน้าที่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณา ซึ่งในกรณีจำเป็นเพื่อความปลอดภัย และสุขภาพก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานให้เหมาะสมกับท่าน หรือดำเนินการอื่นใดตามสมควร
10. องค์กรหรือหน่วยงานภายนอกทำหนังสือเชิญท่านเป็นผู้บรรยายพิเศษในวันและเวลาทำงานปกติ และมอบเงินค่าตอบแทนให้ท่านจำนวนหนึ่ง ท่านจะปฏิบัติเช่นไร
คำแนะนำ ท่านควรปรึกษาและขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อนที่จะตอบรับเชิญ เพื่อมิให้มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือมีการใช้ข้อมูลภายในของ ปตท.สผ. ในส่วนค่าตอบแทนท่านไม่สามารถรับได้ เนื่องจากท่านใช้เวลาของ ปตท.สผ. ในการเป็นผู้บรรยายนั้น แต่หากท่านใช้วันลาส่วนตัวและไม่ได้ไปในฐานะตัวแทน ปตท.สผ. เพื่อการบรรยายนั้น ท่านสามารถรับค่าตอบแทนไว้ได้
11. ท่านและกลุ่มเพื่อนของท่านต้องการจัดกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในนามกลุ่ม ปตท.สผ. โดยออกค่าใช้จ่ายเอง ได้หรือไม่
คำแนะนำ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ไม่ควรจัดกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในนามกลุ่ม ปตท.สผ. หากไม่ได้รับอนุญาต เพื่อควบคุมให้การดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่ม ปตท.สผ. มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมผ่านกิจกรรมของชมรมต่างๆ หรือกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่ม ปตท.สผ. ที่เปิดกว้างให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็น และเข้าร่วมกิจกรรมด้านความรับผิดชอบที่มีการจัดอย่างต่อเนื่องทุกปี
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
1. | เนื่องจากจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้ได้กล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริหาร และพนักงานในมุมมองด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งยังมีอีกหลายเรื่องที่ผู้บริหาร และพนักงานต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น จึงควรศึกษา ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามในเรื่องอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในจริยธรรมธุรกิจนี้ด้วย | |
2. | ความหมายของยาเสพติด สารเสพติด และแอลกอฮอล์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายที่ใช้บังคับ หากสงสัยให้สอบถามเจ้าหน้าที่กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริการธุรกิจในพื้นที่นั้น | |
3. | สามารถสอบถามข้อสงสัยว่าการกระทำในลักษณะใดที่ขัดกับตัวอย่างแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับระเบียบบริษัทว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนินการทางวินัย สิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ได้ที่กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริการธุรกิจ |
กลุ่ม ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการใช้และการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สิน ด้วยมาตรฐานการบริหารจัดการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม และความถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูล และทรัพย์สินต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท.สผ. จะถูกใช้งานเพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่ม ปตท.สผ. เท่านั้น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับกลุ่ม ปตท.สผ. และบุคคลอื่น หรือถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อบุคคลอื่นอย่างไม่ถูกต้อง ตลอดจนไม่ล่วงละเมิดข้อมูลของผู้อื่น ทั้งนี้ ทรัพย์สินของกลุ่ม ปตท.สผ. หมายความรวมถึง สังหาริมทรัพย์ เช่น อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ฯลฯ และอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง แท่นผลิต นอกจากนี้ ยังหมายความรวมไปถึง เทคโนโลยี ความรู้ทางวิชาการ เอกสารสิทธิ์ สัญญาสัมปทาน เทคโนโลยีการผลิตเฉพาะ ทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลของกลุ่ม ปตท.สผ. อีกด้วย
กลุ่ม ปตท.สผ. เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา ไม่เกินจริง ทั้งที่มีผลกระทบด้านบวกและด้านลบ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียได้ใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน สร้างความโปร่งใส และความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่สาธารณชนและช่องทางอื่น ๆ เช่น เว็บไซต์ของ ปตท.สผ. กลุ่ม ปตท.สผ.
เคารพและไม่ล่วงละเมิดในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และส่งเสริมให้ผู้บริหาร และพนักงานมีการคิดค้นสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา และมีสิทธิได้รับการตอบแทนที่เหมาะสม โดยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน หรือใช้ทรัพยากรของกลุ่ม ปตท.สผ. ให้เป็นของกลุ่ม ปตท.สผ.
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของกลุ่ม ปตท.สผ. มีไว้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องใช้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งมีหน้าที่ปกป้องและดูแลรักษาให้พ้นจากการถูกล่วงละเมิดหรือนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
ทั้งนี้ กลุ่ม ปตท.สผ. สงวนสิทธิ์ในการตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่เป็นของ ปตท.สผ. โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาต
การบันทึก การใช้ การเปิดเผย และการเก็บรักษาข้อมูล
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | บันทึก และรายงานข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้องและตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริง และเมื่อพ้นช่วงระยะเวลาที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลหรือเอกสาร จะต้องดูแลให้มีการทำลายด้วยวิธีที่เหมาะสมถูกต้องกับข้อมูลหรือเอกสารแต่ละประเภท โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการรักษาความลับของนโยบายการบริหารจัดการเอกสารของ ปตท.สผ. และข้อกำหนดระบบงานสารบรรณของ ปตท.สผ. | |
2. | ไม่นำข้อมูลของกลุ่ม ปตท.สผ. ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือบุคคลอื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และนอกจากข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว กลุ่ม ปตท.สผ. ถือว่าข้อมูลต่างๆ ของกลุ่ม ปตท.สผ. เป็นข้อมูลที่ใช้ภายในเท่านั้น ซึ่งต้องใช้ข้อมูลนั้นภายใต้กรอบหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย | |
3. | เมื่อมีหน้าที่ที่ต้องเปิดเผยข้อมูลของกลุ่ม ปตท.สผ. จะต้องดูแลให้ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกินจริงหรือเกินความจำเป็น ซึ่งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นความพยายาม หรือจูงใจให้มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ และถูกต้อง สอดคล้องกับกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เป็นต้น รวมทั้งผ่านการพิจารณากลั่นกรอง และ/หรืออนุมัติจากผู้รับผิดชอบ และหากเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ร่วมทุนรายอื่น ๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ร่วมทุนตามเงื่อนไขสัญญาที่กำหนดไว้้ | |
4. | รักษาข้อมูลที่เป็นความลับของ ปตท.สผ. เช่น ความลับทางการค้า ความลับเกี่ยวกับข้อมูลแหล่งสัมปทาน แบบแปลน แผนที่ ตัวเลข สูตรการประดิษฐ์คิดค้น เทคโนโลยี ความรู้ทางวิชาการ ข่าวสารภายในองค์กรที่ส่งให้เฉพาะพนักงาน ฯลฯ ไม่ให้รั่วไหลไปยังบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่กลุ่ม ปตท.สผ. หรือผู้มีส่วนได้เสีย ยกเว้นกรณีที่เป็นไปตามกฎหมาย หรือได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจแล้ว | |
5. | ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของ ปตท.สผ. แม้พ้นสภาพหรือสิ้นสุดการปฏิบัติงานที่ ปตท.สผ. ไปแล้ว | |
6. | ใช้เอกสารหลักฐานประกอบรายการทางการบัญชีและการเงินที่ถูกต้องเป็นจริงและครบถ้วน | |
7. | เมื่อพบความผิดปกติหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับรายการทางบัญชีและการเงิน ต้องรีบรายงานต่อผู้บังคับบัญชาและกลุ่มงานการเงินและการบัญชีในทันทีี | |
8. | เก็บรักษาข้อมูลหรือเอกสารที่ใช้ประกอบรายการทางการบัญชีและการเงินอย่างปลอดภัย เป็นระบบ และสามารถตรวจสอบได้ โดยเมื่อพ้นช่วงระยะเวลาที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลหรือเอกสาร ต้องดูแลให้มีการทำลายด้วยวิธีที่เหมาะสมถูกต้องกับข้อมูลหรือเอกสารแต่ละประเภท |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ลาออกไปแล้ว ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับนานเท่าใด หากไม่ปฏิบัติตาม จะมีผลเช่นใด
คำแนะนำ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ลาออกไปแล้ว ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของกลุ่ม ปตท.สผ. ตลอดไป หากเปิดเผยแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย กลุ่ม ปตท.สผ. อาจพิจารณาดำเนินคดีกับบุคคลนั้น
2. ผู้สื่อข่าวโทรศัพท์เข้ามาสอบถามถึงผลกำไรในไตรมาสถัดไป ถ้าหากช่วงนั้นยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลงบการเงินรายไตรมาสนั้นต่อสาธารณะ ท่านควรตอบผู้สื่อข่าวอย่างไร
คำแนะนำ ท่านต้องปฏิเสธการให้ข้อมูล เนื่องจากถือเป็นข้อมูลภายในที่ยังไม่มีการเปิดเผย และอาจถือเป็นการจูงใจให้มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ จึงควรมอบให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่สาธารณชน
3. ผู้บริหารที่รับผิดชอบหน่วยงานนั้น ๆ สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบกับบุคคลภายนอก หรือให้ความเห็นเกี่ยวกับผลกำไรได้หรือไม่
คำแนะนำ ท่านสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบโดยไม่เกี่ยวข้องกับผลกำไรได้ โดยต้องไม่เกินจริง หรือเกินความจำเป็น และต้องคำนึงว่าไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้มีส่วนได้เสีย หรืออาจทำให้เข้าใจว่าเป็นความพยายามหรือจูงใจให้มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกำไร สามารถให้ได้ตามที่เปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว
4. ท่านมีหน้าที่ในการจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายของพนักงาน เพื่อนในหน่วยงานของท่านทำเรื่องขอเบิกค่าที่พักในการเดินทางโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน โดยอ้างว่าลืมขอใบเสร็จ และทำใบแทนใบเสร็จที่รับรองด้วยตัวเอง
คำแนะนำ ท่านควรแจ้งเพื่อนในหน่วยงานให้ขอสำเนาใบเสร็จค่าที่พักจากสถานที่ที่ไปพัก หรือกรณีที่ไม่สามารถขอใบเสร็จได้ให้ทำใบแทนใบเสร็จตามที่บริษัทกำหนดโดยต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาด้วย
5. ท่านมีงานสอนหนังสือนอกเวลางาน และต้องการนำข้อมูลหรือเอกสารที่ท่านใช้ในการทำงานมาใช้ประกอบการสอน ท่านจะปฏิบัติเช่นไร
คำแนะนำ ท่านควรปรึกษาและขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อนที่จะนำข้อมูลไปใช้ เว้นแต่เป็นข้อมูลหรือเอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้ว
การใช้ และการดูแลรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. เป็นหลัก | |
2. | ไม่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ โดยวิธีการใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย | |
3. | ดูแลไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ตนเองมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างผิดกฎหมาย หรือเกินกว่าความจำเป็นต่อการทำงาน และให้ปฏิบัติตามนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ ปตท.สผ. อย่างเคร่งครัด | |
4. | ไม่ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่กลุ่ม ปตท.สผ. จัดให้ในเชิงธุรกิจส่วนตัวไม่ว่าในกรณีใด ๆ อย่างไรก็ตาม สามารถใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่กลุ่ม ปตท.สผ. จัดให้ เพื่อกิจกรรมส่วนตัว (ที่ไม่ใช่เชิงธุรกิจ) ได้ตามสมควร เว้นแต่เป็นการทำให้กลุ่ม ปตท.สผ. เสียหาย หรือ เป็นการรบกวนประสิทธิภาพการทำงานและสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น | |
5. | ใช้อีเมล และอินเตอร์เน็ตที่จัดให้เพื่อธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. อย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ผิดศีลธรรม หรือเว็บไซต์ที่ไม่เป็นที่รู้จักซึ่งอาจไม่ปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการติดต่อสื่อสารในรูปแบบที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงของกลุ่ม ปตท.สผ. และไม่ใช้ชื่อหรือตรา ปตท.สผ. ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. เพื่อนของท่านขอสำเนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ความรู้ในฐานข้อมูลของกลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานของบริษัทอื่นที่ไม่ใช่กลุ่ม ปตท.สผ. ท่านสามารถทำได้หรือไม่
คำแนะนำ ข้อมูลที่อยู่บนอินทราเน็ตหรือฐานข้อมูลของ ปตท.สผ. เป็นทรัพย์สินของกลุ่ม ปตท.สผ. ต้องไม่นำไปเผยแพร่ หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
2. ท่านต้องเดินทางไปปฏิบัติงานภายนอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีความจำเป็นต้องใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ตสาธารณะเพื่ออ่านอีเมลและดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลงานที่ทำอยู่ ท่านควรปฏิบัติอย่างไร
คำแนะนำ หากท่านมีความจำเป็นจริง ๆ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าร้านอินเตอร์เน็ตสาธารณะนั้นมีความน่าเชื่อถือ เช่น เป็น Business Center ของโรงแรมที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งตรวจตราดูแลไม่ให้ ชื่อเข้าระบบ (username) และ รหัสผ่าน (password) รวมถึงข้อมูลชองบริษัทที่ได้ดาวน์โหลดออกมา ถูกบันทึกหรือจดจำไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ
3. ท่านสามารถถ่ายภาพขณะปฏิบัติงานและนำไปเผยแพร่เป็นการส่วนตัวในสื่อสาธารณะต่าง ๆ ( Social Media) ได้หรือไม่
คำแนะนำ ให้ระมัดระวังการปฏิบัติในลักษณะนี้ เพราะมีโอกาสที่จะทำให้เป็นการเผยแพร่ข้อมูลความลับหรือข้อมูลภายในของบริษัทโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากในภาพถ่ายอาจปรากฎข้อมูล ตัวเลข เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เป็นความลับหรือเป็นข้อมูลภายในของกลุ่ม ปตท.สผ. นอกจากนี้ การแต่งกายหรือใช้สัญลักษณ์ของกลุ่ม ปตท.สผ. ใน social media ต่าง ๆ หากทำให้กลุ่ม ปตท.สผ. ได้รับความเสียหายจะต้องได้รับโทษทางวินัยด้วย
การใช้ และการดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญา
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | ปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศที่กลุ่ม ปตท.สผ. เข้าไปดำเนินธุรกิจ และต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น | |
2. | ดูแลรักษารายงาน ข้อมูล สูตร สถิติ แผ่นพิมพ์เขียว โปรแกรม วิธีการ กระบวนการ และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่ม ปตท.สผ. ซึ่งตนเองมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดและไม่เปิดเผยให้กับผู้ใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
3. | ไม่นำข้อมูล เอกสาร ทรัพย์สิน ความรู้ต่าง ๆ ของกลุ่ม ปตท.สผ. ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เช่น เขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือรายงานอื่น ๆ หากต้องการใช้ต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตามหน่วยงานก่อน ยกเว้นเอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้ว | |
4. | ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการแสดงสิทธิ หรือขอรับความคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญาที่กลุ่ม ปตท.สผ. เป็นเจ้าของ | |
5. | เมื่อพ้นสภาพจากการเป็นผู้บริหาร หรือพนักงานแล้วจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ ข้อมูล รายงาน สถิติ สูตร โปรแกรม พิมพ์เขียว วิธีการ กระบวนการที่อยู่ในครอบครองคืนให้แก่กลุ่ม ปตท.สผ. ทั้งหมด ไม่ว่าจะเก็บไว้ในรูปแบบใด ๆ | |
6. | ปกป้องดูแลทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่ม ปตท.สผ. ไม่ให้เสียหาย สูญหาย และใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่ม ปตท.สผ. | |
7. | เคารพนับถือทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ใด |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. ท่านเป็นผู้บรรยายความรู้ของ ปตท.สผ. ให้กับนิสิตนักศึกษาที่มาดูงาน และนิสิตนักศึกษานั้น ได้ขอข้อมูลที่ท่านบรรยายเพื่อนำไปใช้ประกอบการทำรายงาน ท่านสามารถให้ข้อมูลได้หรือไม่่
คำแนะนำ การให้ข้อมูลทั่วไป ที่ไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นความลับในส่วนที่ท่านรับผิดชอบอยู่นั้น สามารถให้ได้ สำหรับข้อมูลอื่นที่ท่านไม่ได้เกี่ยวข้องให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชาและผู้รับผิดชอบข้อมูลในส่วนนั้นก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่ ทั้งนี้ การให้ข้อมูลในทุกกรณีต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายต่อกลุ่ม ปตท.สผ.
2. ท่านต้องการเขียนหนังสือเล่มหนึ่งโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานในกลุ่ม ปตท.สผ. และสอดแทรกวิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่ท่านได้คิดค้นขึ้นเพื่อให้การทำงานดีขึ้น ท่านสามารถทำได้หรือไม่
คำแนะนำ การนำข้อมูลของกลุ่ม ปตท.สผ. ไปใช้ในงานส่วนตัวจะต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ได้รับอนุญาตแล้วก็ไม่สามารถนำข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ที่ทำให้กลุ่ม ปตท.สผ. ได้เปรียบหรือเสียเปรียบไปเปิดเผยได้ และเนื้อหาของหนังสือจะต้องไม่เป็นการเปิดเผยกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการทำงาน หรือเรื่องใด ๆ ที่เป็นความลับทางธุรกิจ
3. ท่านมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีในคอมพิวเตอร์ที่บริษัทจัดหาให้ท่านใช้งาน ท่านจะทำอย่างไร
คำแนะนำ ในเบื้องต้นให้ติดต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศให้ช่วยแก้ปัญหา ซึ่งตามปกติหน่วยงานดังกล่าวจะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานเฉพาะเรื่องที่ถูกกฎหมายอยู่จำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ท่านไม่ควรติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในคอมพิวเตอร์ของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาต ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตั้งชั่วคราวและได้ถอนการติดตั้งหลังใช้งานเสร็จแล้วก็ตาม เพราะเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะตรวจสอบได้ว่าท่านมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมหรือไม่ และหากมีการตรวจสอบพบว่าท่านมีการใช้งานผิดไปจากที่กำหนดไว้ หรือมีการละเมิดลิขสิทธิ์จะต้องได้รับโทษ
4. ท่านต้องการเขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานในกลุ่ม ปตท.สผ. ท่านจะปฏิบัติเช่นไร
คำแนะนำ ท่านสามารถทำได้ แต่หากท่านต้องการใช้เอกสาร หรือความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานให้กับ ปตท.สผ. ท่านต้องปรึกษาและขออนุมัติ จากผู้บังคับบัญชาก่อน โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม วิธีการ กระบวนการ ข้อเท็จจริง ประดิษฐกรรม และความลับทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่ม ปตท.สผ. ยกเว้นเป็นเอกสารที่เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว
การซื้อขายหลักทรัพย์และการใช้ข้อมูลภายใน
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์รวมถึงการเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ และการใช้ข้อมูลภายในอย่างเคร่งครัด | |
2. | ไม่นำข้อมูลภายในของกลุ่ม ปตท.สผ. หรือบริษัทที่ทำธุรกิจกับกลุ่ม ปตท.สผ. ที่ตนได้รับทราบไม่ว่าจะทราบจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจากแหล่งที่มาอื่นใด ไปซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น หรือเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมและไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยรู้หรือควรรู้ว่าผู้รับข้อมูลอาจนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น | |
3. | ไม่เปิดเผยข้อมูลของกลุ่ม ปตท.สผ. ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน และดูแลให้สามารถรับรู้ได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและเท่าที่จำเป็นเท่านั้นรวมถึงจัดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในที่ตนเองมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ | |
4. | กรรมการและผู้บริหารตามนิยามกฎหมายหลักทรัพย์มีหน้าที่รายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด | |
5. | บุคคลวงในมีหน้าที่รายงานการถือหลักทรัพย์และการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ตามที่บริษัทกำหนด รวมทั้งจะได้รับการแจ้งเตือน และห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือห้ามเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ในช่วงเวลาที่ ปตท.สผ. จะมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของ ปตท.สผ. เช่น การเปิดเผยข้อมูลงบการเงินหรือผลการดำเนินงาน | |
6. | ฝ่ายกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เป็นหน่วยงานกลางในการกำกับดูแลมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน รวมถึงการจัดทำรายชื่อบุคคลวงใน การกำหนดช่วงเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ การอนุญาตให้ซื้อขายหลักทรัพย์หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ และการรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบเป็นประจำ | |
7. | ไม่หาประโยชน์จากข้อมูลภายใน แม้พ้นสภาพหรือสิ้นสุดการปฏิบัติงานที่กลุ่ม ปตท.สผ. ไปแล้ว |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. มีข่าวลือว่า ปตท.สผ. จะได้รับสัมปทานปิโตรเลียมหลายแปลง ข่าวลือดังกล่าว ทำให้ราคาหุ้นของ ปตท.สผ. สูงขึ้นมาก ซึ่ง ปตท.สผ. ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมจริงและอยู่ระหว่างการเตรียมแจ้งสารสนเทศต่อหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมาย หากท่านได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จะสามารถซื้อขายหุ้นของ ปตท.สผ. ได้หรือไม่
คำแนะนำ ท่านต้องไม่ซื้อขายหุ้นของ ปตท.สผ. ในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งไม่เปิดเผยข้อมูลหรือให้คำแนะนำในการซื้อขายหุ้น ปตท.สผ. ต่อบุคคลภายนอกหรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย เพราะเป็นการใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันข้อครหาเกี่ยวกับความเหมาะสมของการซื้อขายหลักทรัพย์ ท่านควรรอจนกระทั่งข้อมูลภายในได้เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้นักลงทุนทั่วไปได้ทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงและมีเวลาประเมินข้อมูลตามสมควร
2. หากท่านทราบว่า ปตท.สผ. จะไปลงทุนซื้อที่ดินแห่งหนึ่ง และท่านได้ไปซื้อที่ดินไว้ก่อนเพื่อเก็งกำไร พฤติกรรมดังกล่าวถือว่าผิดจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. หรือไม่
คำแนะนำ พฤติกรรมดังกล่าวถือว่าผิดจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. เนื่องจากเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยข้อมูลภายใน ซึ่งการหาประโยชน์จากข้อมูลภายในไม่จำกัดเฉพาะการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น แต่รวมถึงการหาประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น โดยอาศัยข้อมูลภายในที่ได้ล่วงรู้มาจากการปฏิบัติหน้าที่
3. หากท่านบังเอิญได้เห็นสัญญาว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมารายหนึ่งซึ่งมีมูลค่าสูงมาก ซึ่งสัญญาดังกล่าวจะลงนามในเร็ว ๆ นี้ และอาจทำให้ราคาหุ้นของบริษัทผู้รับเหมาดังกล่าวสูงขึ้นมากด้วย ท่านจะสามารถซื้อหุ้นของบริษัทผู้รับเหมานั้นได้หรือไม่
คำแนะนำ ท่านต้องไม่ซื้อหุ้นของบริษัทผู้รับเหมาในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งถือว่าผิดจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. โดยเป็นการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทที่ทำธุรกิจกับ ปตท.สผ. เพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
1. | ทรัพย์สินของกลุ่ม ปตท.สผ. อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลภายใน ความลับ ทรัพย์สินทางปัญญาในเวลาเดียวกัน เช่น แบบแปลนพิมพ์เขียวของแท่นผลิตที่ได้ออกแบบไว้เอง นอกจากนี้ ในแต่ละสถานการณ์ หรือช่วงเวลา ทรัพย์สินอาจมีสถานะต่างกันออกไป เช่น ข้อมูลงบการเงินก่อนและหลังการเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้น ท่านจะต้องแยกแยะสถานะและประเภทของทรัพย์สินให้ชัดเจนและถูกต้อง ก่อนการดำเนินการใด ๆ | ||
2. | หากท่านไม่แน่ใจว่า ข้อมูลใดเป็นข้อมูลภายใน หรือข้อมูลที่เป็นความลับ ท่านต้องสอบถามหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อมูลนั้น ๆ ก่อนการใช้งานหรือเปิดเผยข้อมูลเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อกลุ่ม ปตท.สผ. และอาจได้รับโทษด้วย | ||
3. | ท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้ได้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้ี้ | ||
o | สอบถามเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลได้ที่หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ | ||
o | สอบถามเกี่ยวกับการใช้ และการดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญา ได้ที่หน่วยงานกฎหมาย | ||
o | สอบถามเกี่ยวกับการใช้ และการดูแลรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ที่หน่วยงานกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||
o | สอบถามเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการใช้ข้อมูลภายในได้ที่หน่วยงานเลขานุการบริษัท และหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ |
กลุ่ม ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม ปตท.สผ. และตระหนักดีว่าความขัดแย้งทางผลประโยชน์อาจเกิดขึ้นได้ แต่การเข้าไปเกี่ยวข้อง ตัดสินใจ หรือเลือกเอาประโยชน์ของตนเองเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. เป็นเรื่องที่ยอมให้เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะต้องยึดถือผลประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. เป็นสำคัญและหลีกเลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และหากเห็นว่ามีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้นให้รีบแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลโดยด่วน
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | ไม่ประกอบกิจการที่เป็นการแข่งขัน หรือมีลักษณะเดียวกันกับกลุ่ม ปตท.สผ. | |
2. | ไม่เข้าเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจตัดสินใจ หรือผู้บริหารในกิจการที่เป็นการแข่งขัน หรือมีลักษณะเดียวกันกับกลุ่ม ปตท.สผ. แต่ในกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที | |
3. | ไม่แสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ จากข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ ที่ตนรู้เนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่ และความรับผิดชอบ | |
4. | หลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงินและ/หรือความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่ม ปตท.สผ. ต้องเสียผลประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือขัดขวางการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ | |
5. | กรณีที่มีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่า การปฏิบัติงานของตน หรือการที่ตนเองและบุคคล ที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วม หรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการใด ๆ โดยที่กิจการดังกล่าวได้มีการดำเนินธุรกรรมกับกลุ่ม ปตท.สผ. ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ให้แจ้งเรื่องดังกล่าวโดยทันที โดยใช้แบบการเปิดเผยรายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. พร้อมแนบรายละเอียดของเรื่องดังกล่าว โดยกรณีกรรมการของ ปตท.สผ. ให้นำส่งให้ประธานกรรมการ และประธานกรรมการนำส่งให้คณะกรรมการ ปตท.สผ. สำหรับผู้บริหารและพนักงานนำส่งให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งสำเนาให้หน่วยงานเลขานุการบริษัทเพื่อทราบ (โปรดดูแบบการเปิดเผยรายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในภาคผนวก) | |
6. | ตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของกลุ่ม ปตท.สผ. โดยปราศจากอิทธิพลของความต้องการหรือผลประโยชน์ส่วนตัวหรือของบุคคลที่เกี่ยวข้อง | |
7. | เมื่อต้องเกี่ยวข้องในกระบวนการเสนอว่าจ้าง คัดเลือก ตัดสินใจหรืออนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีส่วนร่วมในการอนุมัติ โดยใช้แบบการเปิดเผยรายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ.และให้ถอนตัวจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวหรือถอนตัวจากการดำเนินธุรกรรมกับกลุ่ม ปตท.สผ. | |
8. | กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทบทวนและประเมินตนเองเรื่องรายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นประจำทุกปีี |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. บิดามารดาของท่านมีกิจการส่วนตัว และต้องการให้ท่านสืบทอดกิจการ ในขณะที่ท่านยังเป็นพนักงานของกลุ่ม ปตท.สผ. ท่านจะต้องดำเนินการอย่างไร
คำแนะนำ ท่านจะต้องพิจารณาว่ากิจการที่จะสืบทอดมีผลประโยชน์ขัดแย้งกับกลุ่ม ปตท.สผ. หรือไม่ และหากท่านรับสืบทอดกิจการจะทำให้งานในหน้าที่ของกลุ่ม ปตท.สผ. ด้อยลงกว่าที่ควรเป็น หรืออาจต้องใช้เวลางานในการจัดการธุรกิจส่วนตัวหรือไม่ ซึ่งหากเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ก็ถือได้ว่าขัดกับตัวอย่างแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ ซึ่งท่านควรปรึกษาผู้บังคับบัญชา กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริการธุรกิจ หรือหน่วยงานเลขานุการบริษัท เพื่อขอรับคำแนะนำการปฏิบัติที่เหมาะสม
2. ถ้าญาติของท่านเข้ามาประมูลงานกับกลุ่ม ปตท.สผ. โดยท่านไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเสนอว่าจ้าง คัดเลือก ตัดสินใจหรืออนุมัติรายการ ท่านจะต้องรายงานโดยใช้แบบการเปิดเผยรายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. หรือไม่
คำแนะนำ เนื่องจากท่านไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเสนอว่าจ้าง คัดเลือก ตัดสินใจหรืออนุมัติรายการ ถือว่าไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ จึงไม่ต้องรายงานให้ทราบ
3. ถ้าท่านเป็นเจ้าของบริษัทที่เกี่ยวกับการจัดหาบุคลากร และต้องการส่งคนจากบริษัทของตนเองมาทำงานกับกลุ่ม ปตท.สผ. สามารถทำได้หรือไม่ และท่านควรปฏิบัติอย่างไร
คำแนะนำ ท่านสามารถส่งคนจากบริษัทของท่านมาทำงานกับ ปตท.สผ. ได้ แต่ต้องแจ้งเรื่องดังกล่าวโดยทันที โดยใช้แบบการเปิดเผยรายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ พร้อมแนบรายละเอียดของเรื่องดังกล่าวส่งให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งสำเนาให้หน่วยงานเลขานุการบริษัทเพื่อทราบ รวมทั้งท่านต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในกระบวนการคัดเลือกบุคลากรดังกล่าว
4. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของ ปตท.สผ. สามารถเป็นที่ปรึกษาของบริษัทท่าเรือเอกชนที่จังหวัดสงขลา ซึ่งทำธุรกิจให้บริการในลักษณะเดียวกันกับท่าเรือของ ปตท.สผ. ในปัจจุบันได้หรือไม่่
คำแนะนำ ท่านไม่สามารถทำได้ เนื่องจากถือว่ามีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ จากการเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกลุ่ม ปตท.สผ.
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
1. | การปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเรื่อง "การจัดหาและสัญญา" "การต่อต้านคอร์รัปชั่น" "การใช้และการรักษาข้อมูลและทรัพย์สิน" โดยถือว่าเรื่อง "ความขัดแย้งทางผลประโยชน์" เป็นหลักการใหญ่ที่ใช้พิจารณาถึงเจตนาในเบื้องต้นว่าการกระทำนั้นมีเจตนาฝ่าฝืนจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ. หรือมีเจตนาทุจริตหรือไม่ ซึ่งหากเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงซึ่งจะต้องได้รับโทษสูงสุด | |||||||||||||||||
2. | กลุ่ม ปตท.สผ. เชื่อว่ากรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนเป็นคนดี และคนเก่ง และมีบรรทัดฐานด้านจริยธรรมที่ดี ดังนั้น ทุกคนจึงมีหน้าที่ในการตรวจสอบตนเองอยู่เสมอว่าตนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับกลุ่ม ปตท.สผ. หรือไม่ โดยเมื่อทำความเข้าใจหลักการในเรื่องนี้แล้วแต่ยังมีความกังวล หรือไม่แน่ใจ ให้รีบปรึกษาผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานเลขานุการบริษัท หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานจัดหา เป็นต้น | |||||||||||||||||
3. | ตัวอย่างลักษณะของความขัดแย้งทางผลประโยชน์
|
การจัดหาเป็นกระบวนการสำคัญที่สนับสนุนการดำเนินกิจการของกลุ่ม ปตท.สผ. ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียผ่านการดำเนินการจัดหาที่เป็นเลิศ โดยมีกรอบการบริหารจัดการการจัดหาที่มีแนวปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน สนับสนุนให้มีการแข่งขัน มีความโปร่งใส เป็นธรรม รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อตกลงในนิติกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันกลุ่ม ปตท.สผ. ได้ผลักดันให้คู่ค้ามีการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมตามหลักสากล เคารพสิทธิมนุษยชน มีการดูแลอาชีวอนามัย และความปลอดภัยของลูกจ้าง รวมถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | เมื่อต้องดำเนินกิจกรรมการจัดหา กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบวิธีการ และขั้นตอนการจัดหาอย่างเคร่งครัด โดยให้สอดคล้องกับการมอบหมายอำนาจ ของ กลุ่ม ปตท.สผ | |
2. | หลีกเลี่ยงการจัดหาที่อาจขัดกับผลประโยชน์โดยรวมของกลุ่ม ปตท.สผ. แม้ว่าการปฏิบัติดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือการตัดสินใจของหน่วยงานตน | |
3. | ไม่รับประโยชน์อื่นใดจากกิจกรรมการจัดหาของกลุ่ม ปตท.สผ. เพื่อหลีกเลี่ยงการผูกพันหรือการจัดหาที่ไม่เป็นธรรม | |
4. | วางตัวเป็นกลางกับคู่ค้า ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับคู่ค้ารายใดรายหนึ่ง จนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกจัดหาที่อาจทำให้ขาดความโปร่งใส ยุติธรรม และเท่าเทียมกัน | |
5. | รายงานให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานจัดหาทราบ เมื่อพบเหตุอันจะทำให้ผิดข้อตกลงตามสัญญา | |
6. | ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดหา หรือข้อมูลที่สำคัญของกลุ่ม ปตท.สผ. ให้กับคู่ค้า หรือคู่แข่ง เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ และเป็นไปตามจริยธรรมธุรกิจในเรื่อง "การใช้และการรักษาข้อมูลและทรัพย์สิน" | |
7. | ไม่ดำเนินการจัดหาสินค้าหรือบริการ ที่มีการเจาะจงข้อกำหนดหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยเฉพาะ หรือ พยายามเลือกสรรคุณลักษณะที่โน้มเอียงไปทางสินค้าหรือบริการนั้น ๆ อย่างจงใจ นอกจากจะมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอและมีความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่ม ปตท.สผ. เท่านั้น | |
8. | ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของผู้รับเหมา คู่ค้า ผู้ร่วมทุน และคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีที่ไม่สุจริต หรือไม่เหมาะสม | |
9. | ดำเนินการจัดหาสินค้าและบริการจากคู่ค้าที่มีการดำเนินธุรกิจตามหลักจริยธรรมสากล มีความซื่อสัตย์ เคารพสิทธิมนุษยชน มีอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. การจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้วิธีการเจรจาตรงกับคู่ค้ารายหนึ่งรายใด สามารถทำได้ในกรณีใดบ้าง
คำแนะนำ โดยปกติการจัดซื้อจัดจ้างควรจัดให้มีผู้ประมูลอย่างน้อย 3 รายขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี อย่างไรก็ตาม หากรายการประมูลนั้น เป็นรายการจัดซื้อจัดจ้างอันเป็นลักษณะเฉพาะ เน้นเทคโนโลยี หรือความรู้เฉพาะทาง (Know how) มีความชำนาญพิเศษโดยไม่มี ผู้รับเหมา คู่ค้ารายอื่นสามารถกระทำได้ หรือมีเหตุผลอื่นอันพิสูจน์เป็นที่ยอมรับได้ตามระเบียบจัดหาของกลุ่ม ปตท.สผ. การจัดซื้อจัดจ้างโดยการเจรจาตรงกับผู้รับเหมา คู่ค้ารายหนึ่งรายใด ก็สามารถกระทำได้
2. การจัดหาที่อาจขัดกับผลประโยชน์โดยรวมของ กลุ่ม ปตท.สผ. เป็นอย่างไร
คำแนะนำ การจัดหาที่อาจขัดกับผลประโยชน์โดยรวมของกลุ่ม ปตท.สผ. เช่น การจัดหาที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของการแข่งขันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่ม ปตท.สผ. โดยอาจเป็นการเลือกเจรจาตรงกับผู้รับเหมา คู่ค้ารายหนึ่งรายใด หรือการต่ออายุสัญญากับผู้รับเหมา คู่ค้ารายหนึ่งรายใดออกไปเรื่อย ๆ โดยไม่เปิดให้มีการแข่งขัน และไม่มีเหตุผลตามที่กำหนดในระเบียบจัดหาที่สามารถกระทำได้ เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการในลักษณะข้างต้นจะต้องปรึกษาหน่วยงานจัดหาเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในแต่ละเรื่องด้วย
3. หากงานในหน้าที่ของท่านเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคู่ค้า ในการประมูลงานงานหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในผู้ที่เข้าข่ายได้รับการพิจารณาเป็นบริษัทของญาติท่าน ท่านควรปฏิบัติอย่างไรในกรณีนี้
คำแนะนำ ในสถานการณ์เช่นนี้อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ขึ้น เนื่องจากท่านมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษกับหนึ่งในคู่ค้า ซึ่งอาจทำให้ท่านไม่สามารถวางตัวเป็นกลางได้ ท่านต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการคัดเลือกหรือตัดสินใจหรืออนุมัติ และต้องแจ้งเรื่องดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาโดยทันที โดยใช้แบบการเปิดเผยรายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของ ปตท.สผ. พร้อมแนบรายละเอียดของเรื่องดังกล่าวเพื่อให้คำแนะนำการปฎิบัติที่เหมาะสมและส่งสำเนาให้หน่วยงานตรวจสอบเพื่อทราบด้วย
4. หากท่านเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในการจัดซื้อเครื่องมือทางวิศวกรรมชิ้นหนึ่งซึ่งมีความต้องการใช้งานอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันท่านก็มีเพื่อนสนิทขายเครื่องมือทางวิศวกรรมชนิดดังกล่าวอยู่ โดยเพื่อนของท่านเสนอเงื่อนไขและราคาที่ไม่แพงไปกว่าที่กลุ่ม ปตท.สผ. เคยจัดหาไว้ ในกรณีนี้ ท่านสามารถอนุมัติจัดหาได้เลยหรือไม่
คำแนะนำ การอนุมัติและการจัดซื้อโดยบุคคลคนเดียวกันอาจทำให้เกิดข้อสงสัยเรื่องความไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ สำหรับการจัดซื้อในกรณีฉุกเฉินนี้ หน่วยงานผู้ใช้หรือหน่วยงานจัดหาสามารถดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือทางวิศวกรรมไปก่อน ทั้งนี้ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติการจัดหา หากท่านเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาทราบก่อนดำเนินการและให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการจัดซื้อเครื่องมือนั้นแทน โดยให้ชี้แจงข้อมูลเหตุผลที่ชัดเจนโปร่งใส และต้องดำเนินการส่วนอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนตามระเบียบการจัดหาที่เกี่ยวข้องซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดหาในกรณีฉุกเฉินไว้แล้ว
5. บริษัทผู้ประมูลรายหนึ่งได้เสนอให้ท่านไปเยี่ยมชมกิจการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยยินดีออกค่าตั๋วเครื่องบิน ที่พัก ตลอดจนค่าอาหารทั้งหมดให้ ท่านควรรับข้อเสนอนั้นหรือไม่
คำแนะนำ กรณีนี้อาจเป็นการให้เพื่อหวังผลประโยชน์ของผู้ประมูลรายนั้น ท่านไม่ควรรับข้อเสนอดังกล่าว เพราะอาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการจัดซื้อจัดจ้าง และควรชี้แจงให้ผู้ประมูลรายนั้นทราบว่า กลุ่ม ปตท.สผ. มีจริยธรรมธุรกิจเรื่อง การรับหรือไม่รับของขวัญ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ทุกคนต้องต้องยึดถือปฏิบัติ
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
1. | การปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมธุรกิจในเรื่องอื่นด้วย เช่น "ความขัดแย้งทางผลประโยชน์" "การต่อต้านคอร์รัปชั่น" และ "การใช้และการรักษาข้อมูลและทรัพย์สิน" จึงต้องศึกษาจริยธรรมธุรกิจในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย | |
2. | ท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้ได้ที่หน่วยงานจัดหา |
กลุ่ม ปตท.สผ. ต่อต้านการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบและไม่มีข้อยกเว้น ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชันในแต่ละพื้นที่ที่เข้าดำเนินธุรกิจ ปลูกฝังเรื่องการป้องกันคอร์รัปชันเป็นวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชันทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนของกลุ่ม ปตท.สผ. ต้องปฏิบัติตาม กำหนดให้มีการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในเพื่อป้องกันการคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับกลุ่ม ปตท.สผ. รวมไปถึงคู่ค้า โดยมีการสอบทานความเพียงพอและความเหมาะสมของมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างสมํ่าเสมออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และมีการตรวจสอบคอร์รัปชันโดยหน่วยงานตรวจสอบ ซึ่งหน่วยงานตรวจสอบมีสิทธิในการเข้าตรวจสอบได้เสมอเมื่อเห็นเหตุการณ์บ่งชี้ว่ามีการคอร์รัปชันเกิดขึ้น โดยกรรมการ ผู้บริหาร หรือหัวหน้างานในทุกระดับมีหน้าที่สอดส่องติดตามไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมในเรื่องนี้ รวมถึงสื่อสารและให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่พบเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืนสามารถร้องเรียน หรือให้ข้อมูลผ่านช่องทางที่ได้กำหนดไว้ใน "ระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม"
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | ไม่คอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ทุกวิธีการ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชันไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงการสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาทำงานกับกลุ่ม ปตท.สผ. ต้องสอบทานประวัติอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันการคอร์รัปชันด้วย | |||
2. | ดำเนินการอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้ เมื่อต้องมีการติดต่อ ประสานงาน ขออนุมัติ ขออนุญาต ทำนิติกรรมหรือทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน | |||
3. | ในการทำนิติกรรมหรือทำธุรกรรมใด ๆ กับบุคคลภายนอกที่ไม่คุ้นเคยนั้น ให้ดำเนินการ ตรวจสอบประวัติ ที่มา ชื่อเสียงของบุคคลนั้นอย่างรอบคอบ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขในนิติกรรม หรือธุรกรรมนั้น ๆ ให้แน่ใจว่าจะไม่คอร์รัปชันไม่ว่ากรณีใด ๆ | |||
4. | การว่าจ้างเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งในกรณีว่าจ้างเพื่อมาเป็นที่ปรึกษา หรือเป็นพนักงาน ผู้เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดูแลให้เงื่อนไขในการว่าจ้างนั้น ถูกต้องตามกฎหมาย โปร่งใส เหมาะสม และไม่เป็นการคอร์รัปชัน | |||
5. | การว่าจ้างบุคคลใด ๆ ให้ดำเนินการแทนกลุ่ม ปตท.สผ. นั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องแจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบถึงจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้ และต้องดูแลให้เงื่อนไขในการว่าจ้างนั้นโปร่งใสและเหมาะสม ถูกกฎหมายและไม่เป็นการคอร์รัปชัน | |||
6. | ไม่ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม ปตท.สผ. โดยต้องรีบแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ | |||
7. | คณะกรรมการมีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร | |||
8. | คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชีระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายใน และระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ | |||
9. | หน่วยงานตรวจสอบมีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามนโยบายนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมภายในที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ | |||
10. | ผู้บริหารมีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบที่ส่งเสริมและสนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันซึ่งรวมถึงแนวทางการสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาทำงานกับกลุ่ม ปตท.สผ. และสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ | |||
11. | ไม่ให้ของขวัญ ของที่ระลึก เลี้ยงรับรอง หรือประโยชน์อื่นใด ยกเว้นกฎหมายกำหนด ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ในแต่ละท้องถิ่นให้ทำได้ โดยการให้แต่ละครั้งต้องขออนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติตามที่บริษัทกำหนดซึ่งเป็นมาตรการกลั่นกรองชั้นต้น และต้องแน่ใจว่าการให้นั้นไม่มีลักษณะที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือคอร์รัปชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่างไรก็ตามแนวปฏิบัติในเรื่องการให้อาจมีความแตกต่างกันตามข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่หรือตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทอาจกำหนดเพิ่มเติม ในกรณีที่สงสัยให้ปรึกษาหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนดำเนินการทุกครั้ง | |||
12. | ไม่รับของขวัญ ของที่ระลึก รับเลี้ยง หรือประโยชน์อื่นใด กรณีไม่สามารถปฏิเสธได้หรือมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับไว้เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดี และไม่สามารถส่งคืนได้ ต้องรายงานต่อผู้มีอำนาจอนุมัติตามแบบรายงานที่บริษัทกำหนดโดยทันทีและส่งสำเนาไปยังหน่วยงานเลขานุการบริษัทโดยเร็ว โดยผู้มีอำนาจอนุมัติต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาตามแนวทางที่ ปตท.สผ. กำหนด โดยต้องไม่มีลักษณะที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือคอร์รัปชัน อย่างไรก็ตาม แนวปฏิบัติเรื่องการรับอาจมีความแตกต่างกันตามข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่หรือตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทอาจกำหนดเพิ่มเติม ในกรณีที่สงสัยให้ปรึกษาหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนดำเนินการทุกครั้ง ทั้งนี้ ของขวัญหรือของระลึกที่มอบให้กลุ่ม ปตท.สผ. และมีคุณค่าแก่การระลึกถึงในโอกาสสำคัญทางธุรกิจ เช่น การลงนามสัญญาร่วมทุนของกลุ่ม ปตท.สผ. ผู้รับต้องส่งมอบของนั้นให้บริษัท |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. ในช่วงเทศกาลปีใหม่ บริษัทที่เป็นคู่ค้าของกลุ่ม ปตท.สผ. ได้นำโทรทัศน์ LED ขนาด 60 นิ้ว มามอบให้ท่านเป็นของขวัญที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ท่านจะรับของขวัญนั้นไว้เป็นของตนเองได้หรือไม่
คำแนะนำ ท่านต้องปฏิเสธการรับของขวัญนั้นอย่างสุภาพ เนื่องจาก ปตท.สผ. มีนโยบายไม่รับของขวัญ การเลี้ยง หรือประโยชน์อื่นใดจากคู่ค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่หรือในโอกาสอื่นใด และส่งคืนผู้ให้ทันที กรณีที่ไม่อาจส่งคืนได้ ให้รายงานให้ผู้มีอำนาจอนุมัติพิจารณา โดยใช้แบบรายงานที่บริษัทกำหนด และส่งสำเนาแบบรายงานให้หน่วยงานเลขานุการบริษัท
2. พนักงานที่ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ และได้รับของขวัญจากคู่ค้าหรือผู้ร่วมทุนใด ๆ จะพิจารณารับของขวัญอย่างไร
คำแนะนำ หากไม่สามารถปฏิเสธการรับของขวัญใด ๆ จากคู่ค้าหรือผู้ร่วมทุนใด ๆ ในต่างประเทศได้ ให้รายงานโดยใช้แบบรายงานที่บริษัทกำหนดให้ผู้มีอำนาจอนุมัติพิจารณาโดยเร็ว และส่งสำเนาแบบรายงานให้หน่วยงานเลขานุการบริษัท
3. ท่านสามารถรับเชิญไปร่วมท่องเที่ยว/เล่นกอล์ฟจากบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ ปตท.สผ. โดย ปตท.สผ. ไม่ได้เป็นผู้จัดงานนั้น ๆ ได้หรือไม่
คำแนะนำ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการมีสัมพันธภาพที่ดีกับคู่ค้า หรือหน่วยงานราชการ หรืออื่น ๆ ในกรณีนี้หากเห็นว่าเป็นไปตามสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม ปตท.สผ. ไม่มีลักษณะเป็นการคอร์รัปชันหรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สามารถทำได้ โดยท่านต้องกรอกแบบรายงานที่บริษัทกำหนดให้ถูกต้องครบถ้วนและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติด้วย และส่งสำเนาแบบรายงานให้หน่วยงานเลขานุการบริษัท
4. ท่านสามารถว่าจ้างให้บุคคลภายนอกไปเร่งรัดให้หน่วยงานรัฐดำเนินการใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ให้กับกลุ่ม ปตท.สผ. ได้หรือไม่
คำแนะนำ การทำธุรกรรมกับภาครัฐหรือกับหน่วยงานใด ๆ ไม่ว่าจะทำด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นทำแทนจะต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา โดยต้องมีหลักฐานขอบเขตการว่าจ้างที่ชัดเจน ไม่มีลักษณะเป็นการคอร์รัปชัน รวมทั้งมีเอกสารการรับเงิน-จ่ายเงินที่ชัดเจนครบถ้วน
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
ปตท.สผ. เป็นสมาชิกของ United Nations (UN) Global Compact ตั้งแต่ปี 2554 และยึดถือปฏิบัติตามหลักการ 10 ประการของ UN Global Compact ในเรื่องสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านคอร์รัปชัน ในการดำเนินธุรกิจ และได้เข้าร่วม "แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต" เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ รวมทั้งได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการคอร์รัปชัน ท่านควรศึกษาในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามเกี่ยวกับการให้และการรับในกรณีต่างๆ ให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานเลขานุการบริษัท หรือหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
กลุ่ม ปตท.สผ. ตั้งมั่นที่จะแข่งขันทางการค้าอย่างยุติธรรมโดยคำนึงถึงจริยธรรมในการประกอบการค้าและกฎหมายแข่งขันทางการค้าในประเทศต่าง ๆ ที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ และตระหนักดีว่ากฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้ามีความซับซ้อนและครอบคลุมในระดับโลก และในแต่ละพื้นที่อาจมีการบังคับใช้ที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ ดังนั้น การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่ง (เช่น การเข้าเป็นสมาชิกร่วมกันในองค์กรหรือสมาคมของกลุ่มธุรกิจเดียวกัน การแลกเปลี่ยนวิทยาการเทคโนโลยี ความรู้ระหว่างกัน การร่วมกันพัฒนาคิดค้นวิทยาการต่าง ๆ เป็นต้น) จะต้องขอคำปรึกษาจากหน่วยงานกฎหมาย และหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนทุกครั้ง เนื่องจากอาจมีความไม่แน่นอนในหลาย ๆ ประการในการตีความและบังคับใช้กฎหมายในแต่ละช่วงเวลา
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | ต้องไม่ทำความตกลงใด ๆ กับคู่แข่งขันหรือบุคคลใดที่มีลักษณะเป็นการลดหรือจำกัดการแข่งขันทางการค้า | |
2. | ไม่ร่วมกับผู้อื่นในการกำหนดราคาประมูลในการประกวดราคา หรือตั้งราคาสินค้า (Price Fixing) และต้องไม่ร่วมทำข้อตกลงกับผู้อื่นที่จะร่วมกันงดทำธุรกิจกับลูกค้า หรือคู่ค้ารายหนึ่งรายใด ยกเว้นในกรณีที่มีการลงโทษห้ามทำการค้าระหว่างประเทศ (Sanction) | |
3. | เนื่องจากกฎหมายแข่งขันทางการค้าเป็นกฎหมายที่มีความสลับซับซ้อนและมีความแตกต่างในแต่ละประเทศ ดังนั้น การดำเนินการจะต้องหารือกับหน่วยงานกฎหมายตั้งแต่ขั้นตอนแรก ๆ |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. ท่านได้รับการเชิญชวนเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมซึ่งมีคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันเป็นจำนวนมากเข้าร่วมการสัมมนาด้วย และในช่วงหนึ่งมีการพูดคุยในประเด็นที่ละเอียดอ่อน ซึ่งท่านเห็นว่าอาจเป็นการละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า ท่านจะต้องทำอย่างไร
คำแนะนำ ท่านต้องไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และให้ออกจากบริเวณที่มีการพูดคุยโดยทันที และรายงานเรื่องที่เกิดขึ้นต่อผู้บังคับบัญชาของท่านโดยด่วน
2. มีคนส่งข้อมูลความลับของบริษัทคู่แข่งมาให้ท่าน โดยที่ท่านไม่ได้ร้องขอ แต่ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงาน ท่านจะต้องทำอย่างไร
คำแนะนำ ปรึกษาหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือหน่วยงานกฎหมายโดยด่วนเพื่อพิจารณาว่าข้อมูลนั้นมีที่มาอย่างไร และมีสิทธิใช้ได้หรือไม่ และหากใช้ได้ก็ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
3. ท่านมีโอกาสที่จะสัมภาษณ์งานพนักงานของบริษัทคู่แข่ง ท่านจะสามารถใช้โอกาสนี้สอบถามถึงแง่มุมทางธุรกิจบางอย่างเพื่อฉกฉวยโอกาสได้เปรียบทางธุรกิจได้หรือไม่
คำแนะนำ ท่านต้องไม่สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลเชิงธุรกิจของบริษัทคู่แข่งโดยเด็ดขาด
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามว่ากฎหมายในแต่ละประเทศมีข้อกำหนดในรายละเอียดอย่างไรให้ติดต่อหน่วยงานกฎหมาย
กลุ่ม ปตท.สผ. ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการฟอกเงิน โดยจะไม่รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สิน หรือสนับสนุนให้มีการรับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้กลุ่ม ปตท.สผ. เป็นช่องทางหรือเป็นเครื่องมือในการถ่ายเท ปกปิด หรืออำพรางแหล่งที่มาของทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | ก่อนทำธุรกรรมกับคู่สัญญาในนามกลุ่ม ปตท.สผ. จะต้องตรวจสอบประวัติของบุคคลนั้นว่าไม่เป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายฟอกเงินอย่างรอบคอบ | |
2. | กรณีพบเห็นธุรกรรมที่ไม่ปกติที่อาจเข้าลักษณะเป็นการฟอกเงิน ให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชา หน่วยงานกฎหมาย หรือกลุ่มงานการเงินและการบัญชีทราบโดยทันทีี | |
3. | เมื่อกระทำการในนามกลุ่ม ปตท.สผ. จะต้องไม่รับชำระราคาเป็นเงินสด หรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด ในลักษณะที่ไม่มีเอกสารยืนยันการจ่าย หรือรับที่ชัดเจน | |
4. | เมื่อกระทำการในนามกลุ่ม ปตท.สผ. ต้องไม่ชำระราคาให้กับบุคคลที่ไม่ใช่คู่สัญญา หรือบุคคลที่ระบุไว้ให้เป็นผู้รับเงินตามสัญญา หรือชำระเงินผ่านบุคคล หรือช่องทางที่ไม่ทราบที่มาชัดเจน เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การบังคับคดี การโอนสิทธิเรียกร้อง เป็นต้น |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. เจ้าหนี้ต้องการให้ชำระหนี้โดยโอนเงินไปยังบุคคลที่ไม่รู้จักในประเทศที่มีการก่อการร้ายรุนแรง โดยไม่ได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญานั้น ท่านจะทำอย่างไร
คำแนะนำ ไม่โอนเงินให้กับบุคคลที่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ
2. ลูกหนี้ตามสัญญาต้องการให้รับโอนเงินเพื่อชำระหนี้จากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่สัญญาโดยไม่ต้องแก้ไขสัญญา ท่านจะทำอย่างไร
คำแนะนำ ไม่รับเงินชำระหนี้ตามสัญญาจากผู้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา เว้นแต่กรณีที่กฎหมายกำหนด
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
1. | หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามเกี่ยวกับข้อกฎหมาย หรือจริยธรรมธุรกิจในเรื่องนี้ให้ติดต่อหน่วยงานกฎหมาย | ||||||
2. | ในการทำธุรกรรมใด ๆ พึงระวังลักษณะที่มีแนวโน้มว่าเข้าข่ายลักษณะการฟอกเงิน ดังต่อไปนี้ี้ | ||||||
2.1) | คู่สัญญาไม่สามารถแสดงข้อมูลบุคคล/นิติบุคคลอย่างชัดเจนเพียงพอ เช่น เอกสารการจดทะเบียนบริษัท เลขประจำตัวผู้เสียภาษี บุคคลที่ได้รับประโยชน์ในทอดสุดท้าย (ultimate beneficial owner) หรือไม่เต็มใจให้ข้อมูล หรือข้อมูลน่าสงสัย | ||||||
2.2) | ปฏิเสธ หรือไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามกฎหมายที่มีไว้เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการฟอกเงิน | ||||||
2.3) | การโอนเงินที่มีลักษณะผิดปกติไปยัง หรือจากประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น | ||||||
2.4) | โครงสร้างการตกลงธุรกิจที่ซับซ้อนผิดปกติ | ||||||
2.5) | รูปแบบการชำระเงินตามสัญญาที่ไม่แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง หรือมีเงื่อนไขการจ่ายเงินที่ผิดปกติ | ||||||
2.6) | คำขอให้โอนเงินไปยังบัญชีที่ไม่เป็นที่รู้จัก | ||||||
2.7) | การชำระราคาโดยใช้ตราสารทางการเงินที่ไม่สามารถระบุความเชื่อมโยงกับผู้ชำระราคาเว้นแต่เป็นเงื่อนไขตามปกติที่สถาบันการเงินได้กำหนดไว้ | ||||||
2.8) | คู่ค้า หรือคู่สัญญาที่ไม่เต็มใจจะให้ข้อมูลที่ครบถ้วน หรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้อง | ||||||
2.9) | การชำระราคาเป็นเงินสด หรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด ก่อนถึงกำหนดชำระ |
กลุ่ม ปตท.สผ. มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และกำหนดให้มีระบบการจัดการในระดับสากล กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานให้ความสำคัญและปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย มาตรฐาน และข้อกำหนดทางด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของบริษัท ในแต่ละพื้นที่ที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัดตลอดจนส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างแนวปฏิบัติ
1. | ปฏิบัติและประสานความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น | |
2. | พัฒนาความรู้และเข้าร่วมกิจกรรมด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม อย่างสม่ำเสมอ ตามความเหมาะสม | |
3. | เมื่อพบเห็นสภาพการทำงาน หรือสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ให้หยุดการปฏิบัติงานนั้นทันที และแก้ไขสภาพอันตรายดังกล่าวให้ปลอดภัยก่อนที่จะปฏิบัติงานต่อไปและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทันทีี | |
4. | เมื่อพบเห็นอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยใด ๆ จากการทำงาน ให้รายงานผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทันทีี | |
5. | ศึกษา ทำความเข้าใจแผนฉุกเฉินต่าง ๆ เมื่ออยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการใด ๆ และให้ความร่วมมือเข้าร่วมฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินต่าง ๆ ตามที่บริษัทจัดขึ้น | |
6. | ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ สนับสนุน และเผยแพร่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรดังกล่าวในกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทอย่างประหยัด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดอันตรายหรือมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | |
7. | ติดบัตรพนักงาน หรือเครื่องหมายแสดงตนอย่างชัดเจน ตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่การปฏิบัติงาน และปฏิบัติตามข้อแนะนำในแต่ละพื้นที่อย่างเคร่งครัด |
ตัวอย่างคำถามและคำแนะนำ
1. ท่านได้รับมอบหมายให้ทำงานชิ้นหนึ่ง ซึ่งก่อนเริ่มงานท่านได้พบว่าเป็นงานที่มีสภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือเป็นงานที่ท่านไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมเท่าที่จำเป็น และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ท่านควรทำอย่างไร
คำแนะนำ ท่านควรแจ้งและปรึกษาผู้บังคับบัญชาโดนทันที เพื่อทบทวนแก้ไขปัญหาสภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัยดังกล่าว และเข้ารับการอบรมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานนั้น
2. หากท่านพบว่ากำลังมีการพิจารณาคัดเลือกงานให้ผู้รับเหมา โดยยังไม่ผ่านการประเมินคุณสมบัติที่เหมาะสมด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ท่านควรทำอย่างไร
คำแนะนำ ท่านควรรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ หรือแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นโดยตรง หรือแจ้งไปยังช่องทางที่กำหนดให้ตาม ระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง
3. หากท่านพบสิ่งของ หรือบุคคลที่น่าสงสัยในพื้นที่บริษัท ท่านควรทำอย่างไร
คำแนะนำ ท่านควรรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ หรือแจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที
4. ปตท.สผ. มีการพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยมีขั้นตอนในการผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
คำแนะนำ กลุ่ม ปตท.สผ. มีการปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิตและดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องโดยมีการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในโครงการที่ดำเนินการในปัจจุบัน และพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการที่จะมีการพัฒนาในอนาคต
ข้อเสนอเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามให้ติดต่อหน่วยงานความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม